พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
DOI:
https://doi.org/10.60101/rmuttgber.2023.264328คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การวางแผนทางการเงิน, วัยเกษียณบทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม และ 3) รูปแบบการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 97 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ด้านพฤติกรรมการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ มีการเตรียมความพร้อมหลังเกษียณอายุ (ร้อยละ 83.33) การออมและการลงทุนในรูปแบบของเงินฝากธนาคาร (ร้อยละ 79.38) ไม่ได้กำหนดสัดส่วนที่แน่นอน ออมตามเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย (ร้อยละ 32.99) ปัจจัยด้านความพร้อมในการเตรียมตัวเพื่อวัยเกษียณ มีผลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 ปัจจัยด้านขนาดรายได้ในปัจจุบัน มีผลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.22 ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน มีผลต่อในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.15 ปัจจัยด้านภาระหนี้สิน มีผลในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.33 ปัจจัยด้านผลตอบแทนที่จะได้รับจากการออม มีผลในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.12 ปัจจัยด้านความแน่นอนของระดับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับหลังเกษียณอายุ มีผลในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.31 รูปแบบการออมและการลงทุนที่เหมาะสม ได้แก่ 1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 3) หุ้นสหกรณ์ และ 4) หุ้น/หลักทรัพย์
References
Chomphunuch. P. (2013). Aging society in Thailand. Bangkok, Thailand: Academic Office, Office of the Secretary of the Senate.
Paim, L. Jariah, M., & Fazli Sabri. M. (2010). Old age savings among public & private sector employees in Malaysia. Retrieved from https://seaca2010.files.wordpress.com/ 2010/07/microsoft-powerpoint-seaca2010_laily.pdf
Patnee, T. (2012). Personal finance planning for retirement: a case study of teachers at schools affiliated with Bangkok. Bangkok: Bachelor of Business University.
Penprapa, B. (2015). Preparing before retirement. Journal of Narathiwat Rajanagarindra University in Humanities and Social Sciences, 2(1), 82-92.
Sirilak, W., & Chanjaras, N. (2016). Financial planning behavior for retirement of income earners between the ages of 22 and 60 years old in Mueang District, Udon Thani Province. Khon Kaen: Khon Kaen University.
Suratchana, C. (2017). Financial planning for security in old for rubber planters. Dhonburi Rajabhat University Journal, 11(2), 45-59.
Wapatanawong, P., & Prasatkul, P. (2019). Future Thai population. Retrieved from http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 นารินจง วงศ์อุต, ศิริภา วิทยาพรพิพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว