รูปแบบการเชื่อมโยงผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวโดยชุมชน , การจัดการ , การเชื่อมโยงผลประโยชน์ , ทุนทางสังคม , การตลาดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดและวิธีการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวที่สามารถใช้ในการวัดผลในมุมต่าง ๆ ของการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชุมชน กล่าวคือ ด้านศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบการติดตามในเชิงบูรณาการ จึงพัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือ “เราได้ – เรากระจาย” จากการถอดบทเรียนในพื้นที่พิเศษ 6 พื้นที่ในประเทศไทย การศึกษารูปแบบการเชื่อมโยงผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและบทบาทของชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยว และเพื่อศึกษาการจัดการรายได้และผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว (CBTT Model) กระบวนการร่วมคิดร่วมพัฒนากับภาคีที่เกี่ยวข้องโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้อย่างครอบคลุมและเป็นมิตรต่อชุมชนท้องถิ่น สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการ ติดตาม ประเมินผล และเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ผลการศึกษานี้สรุปได้ว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 3 มิติที่เชื่อมโยงกัน คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนและยุติธรรมทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ทำให้ผู้นำชุมชนสามารถวางแผนการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน กลยุทธ์การสรรหาวัตถุดิบท้องถิ่น การพัฒนาธุรกิจชุมชน และการสร้างทุนทางสังคม
References
Achrol, R. S., & Kotler, P. (1999). Marketing in the network economy. Journal of Marketing, 63(Special Issue 1999), 146-163.
Bulatovic, J., & Rajovic, G. (2016). Applying sustainable tourism indicators to community-based ecotourism tourist village Eco-katun Stavna. European Journal of Economic Studies, 16(2), 309-330.
Dolezal, C. (2015). The tourism encounter in community-based tourism in northern thailand: empty meeting ground or space for change?. ASEAS – Austrian Journal of South-East Asian Studies, 8(2), 165-186.
Forrest, R., & Kearns, A. (2001). Social cohesion, social capital and the neighbourhood. SAGE Journal, 38(12), 2103-2110.
Nepal, S. K. (2010). Tourism and political change in Nepal. In: Butler, R., & Suntikul, W. (eds.), Tourism and political change (pp. 147-159). Oxford, UK: Goodfellow Publishers.
Ramos, H., Stoddart, M. C. J., & Chafe, D. (2016). Assessing the tangible and intangible benefits of tourism: perceptions of economic, social, and cultural impacts in labrador’s battle harbour historic district. Island Studies Journal, 11(1), 209-226.
White, S. (2011). Sustainable Tourism: A Review of Indicators. UK: Office of National Securities.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พรรณี พิมาพันธุ์ศรี, จุฑามาศ วิศาลสิงห์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว