แนวทางการส่งเสริมความสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการชุมชนในภูมิภาคตะวันตก
คำสำคัญ:
ความสำเร็จในการดำเนินงาน, ผู้ประกอบการชุมชน, ภูมิภาคตะวันตกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และแนวทางการส่งเสริมความสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการชุมชนในภูมิภาคตะวันตก ตัวอย่างจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการโอทอปในภูมิภาคตะวันตก จำนวน 200 ราย และผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแนวคำถามในการสัมภาษณ์ระดับลึก วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการชุมชนในภูมิภาคตะวันตกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการจัดการ (β=.429) ปัจจัยด้านนวัตกรรม (β=.364) และปัจจัยด้านเครือข่าย (β=.187) สามารถทำนายความสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการชุมชนในภูมิภาคตะวันตกได้ร้อยละ 89.9 (R2= .899) ส่วนปัจจัยด้านผู้นำและปัจจัยด้านองค์กรชุมชนส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. แนวทางการส่งเสริมความสำเร็จในการดำเนินงาน ประกอบด้วย ด้านผู้นำโดยการเปลี่ยนแปลงความคิดในการดำเนินงาน ด้านองค์กรชุมชนโดยการส่งเสริมความมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการจัดการโดยประยุกต์ใช้วิธีการจัดการธุรกิจ ด้านนวัตกรรมโดยการนำภูมิปัญญาชุมชนมาใช้ และด้านเครือข่ายโดยการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นจากttp://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php?report_rid=17
จารุวรรณ แก้วมะโน. (2556). บทเรียนชุมชนเข้มแข็ง แผนพัฒนาจังหวัดฉบับเจ้าเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พสุ เดชะรินทร์. (2551) Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2555). ยุทธศาสตร์ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2563). ฐานข้อมูลหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
Baumol, W.L., Litan, R.E., & Schramm, C.J. (2009). Good Capitalism, Bad Capitalism, and The Economics of Growth and Prosperity. New Haven, CT.: Yale U. Press.
Guercini, S., & Ranfagni, S. (2016). Conviviality behavior in entrepreneurial communities and business networks. Journal of Business Research, 69(2), 770-776.
Jennings, P.D., Greenwoods, R., Lounsbury, M.D., & Suddaby, R. (2013). Institutions, entrepreneurs, and communities: A special issue on entrepreneurship. Journal of Business Venturing, 28, 1–9.
Kaplan, R.S. & Norton, D.P. (2000). Balanced Score Card. Harvard Business press.
Kim J.Y., Song S., Sambamurthy V. & Lee L.Y. (2012). Entrepreneurship, knowledge integration capability, and firm performance: An empirical study. Information Systems Frontiers, 14, 1047–1060.
Kline, R.B. (2016). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (4th ed.). New York: Guilford.
Maltz, A.C., Shenhar, A.J. & Reilly, R.R. (2003). “Beyond the balanced score card: Refining the search for organizational success measures.” Long Range Planning, 36, 187-204.
Mary, C. (2015). Community Enterprise. Retrieved from https://www.definitions.net/definition/community+enterprise
Peredo, A.M., & Chrisman, J.J. (2006). Toward a theory of community-based enterprise. The Academy of Management Review, 31(2), 309-328.
Schilling, M.A. (2008). Strategic Management of Technological Innovation. (2nd ed.). NY: McGraw-Hill Education.
Watthanachanobon, W., & Chantaranamchoo, N. (2020). A Local wisdom knowledge management model to enhance economic valued-added textile products based on Thai-Yuan ethnic groups in mid-central provincial cluster. Journal of Community Development Research, 13. 9-24.
Wondirad, A. & Ewnetu, B. (2015). Community participation in tourism development as a tool to foster sustainable land and resource use practices in a national park milieu. Land Use Policy, 88, 104155, 1-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว