การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากหญ้าแฝก ภายใต้แบรนด์ Burawa

ผู้แต่ง

  • กันตภณ กลั่นคำ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ธัชนนท์ ฟักแฟง , คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ธนกร ธรรมฤทธิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พิมพา หิรัญกิตติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ณฐมน บัวพรมมี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปณิศา มีจินดา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, ความตั้งใจซื้อ, กลยุทธ์การตลาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดในด้านตราผลิตภัณฑ์    ราคา การจัดจำหน่าย การโฆษณา และความตั้งใจซื้อ (2) เพื่อศึกษาทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตาม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดและความตั้งใจซื้อ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 635 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม การทดสอบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มตัวอย่างแบบอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 24-39 ปี หรือเจนวาย ระดับรายได้ครอบครัว/เดือน 35,000 บาทหรือต่ำกว่า มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา พนักงานบริษัท และข้าราชการ ผลการทดสอบสมมติฐานที่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า (1) ค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อส่วนประสมการตลาดมากกว่า 3.41 เกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านชื่อเสียงของตราผลิตภัณฑ์ Burawa และความตั้งใจซื้อ (2) อายุมีผลต่อทัศนคติที่แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางจัดจำหน่าย โดยเจนวายมีทัศนคติที่ดีต่อช่องทางการขายผ่านเฟซบุ๊กสูงกว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์อื่น ส่วนเจนบี มองว่า Burawa เป็นตราผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมากกว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์อื่น (3) ผู้ที่มีรายได้ 35,000 บาท หรือต่ำกว่า เห็นด้วยกับการขายทางเฟซบุ๊ก และเห็นว่าเว็บเพจของร้านให้ข้อมูลที่ดึงดูดใจ (4) ด้านการศึกษาพบว่า การให้ข้อมูลที่ดึงดูดใจผ่านเพจเฟซบุ๊ก และชื่อเสียงของตราผลิตภัณฑ์ จะมีผลต่อทัศนคติของกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (5) เพศที่แตกต่างกันไม่ส่งผลให้มีทัศนคติต่อส่วนประสมการตลาดแตกต่างกัน (6) ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ตราผลิตภัณฑ์ และสีสันสวยงามของกระเป๋า พบว่ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อ   

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การใช้ SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัญญ์วรา ศิริผ่อง และ กาญณ์ระวี อนันต์อัครกุล. (2558) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกระเป๋าถือสตรีแบรนด์เนมมือสองของผู้บริโภคสตรีในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(2), 100-111

เกณิกา กอประพันธ์ และ วรัท วินิจ. (2563). อิทธิพลของการรับรู้ลักษณะเด่นของกระเป๋าแบรนด์เนมที่ทำจากวัสดุอัพไซเคิลต่อความตั้งใจซื้อของลูกค้าชาวไทย. สืบค้นจาก https://eproject.ba.cmu.ac.th/ittipon/is/articles_file/25631228105958.pdf

คมสัน เรืองโกศล. (2551). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าถือสุภาพสตรีของผู้ผลิตสินค้าชุมชนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก http://dric.nrct.go.th/Search/ SearchDetail/256687

ณฐมน ทรัพย์บุญโต, กนกอร จิตจำนงค์, รสริน จอห์นสัน และ กมลลักษณ์ ชัยดี. (2560). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวา ต.สันป่าม่วง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ผ่านร้านค้าออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.hu.ac.th/conference/conference2017/proceedings/data/05-2- Poster%20Presentation/2.Humanities%20and%20social%20sciences/16-004H-P(ณฐมน% 20%20ทรัพย์บุญโต).pdf

ทัศนีย์ บัวระภา. (2553). การสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน. สืบค้นจาก http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=9958618

ทัศนีย์ วงค์สอน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผ้าฝ้ายอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://www.graduate.cmru.ac.th/core/km_file/482.pdf

ทิพวัลย์ สินนิธิถาวร. (2553). Generation X. สืบค้นจาก http://sites.google.com/site/490880tippawansinnitita worn/examinatio/generation-x

บุศรา พิยะกูล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของ นิสิต นักศึกษาปริญญาโท ในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://econ.src.ku.ac.th/Thesis-IS/60/6034750334.pdf

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ปภิภาสรร งามขำอัครณี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อกระเป๋าเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวภายในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประวัติกระเป๋าหญ้าแฝก Burawa. (2561). สืบค้นจาก https://www.facebook.com/burawa2540/photos/a.161342967772881

ภูมิดล กรานคำยี. (2559). ปัจจัยการตลาดกระเป๋าสะพายในตลาดออนไลน์. สืบค้นจาก http://61.19.238.50/StudentServe/input/thesis/[1][191117032247].pdf

ลักขณา ศิริจำปา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นจาก http://www.rmufms.com/home/journal/document/journal/ 66f041e16a60928b05a7e228a89c3799.pdf

วรินทร์ทิพย์ กำลังแพทย์. (2559). Online marketing to generation XYZ consumers. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 1(2), 100-111.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, องอาจ ปทะวานิช, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์, และ ปริญ ลักษิตานนท์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (ฉบับปรับปรุงปี 2552). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, และ ปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สัณหณัฐ เจนเจษฎา และ ศรีตุลา สุตภาคย์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคและช่องทางการตลาดสำหรับ Generation ต่าง ๆ. สืบค้นจาก http://www.thaitradeusa.com/home/?p=21482

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2560). หลักการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย. สืบค้นจาก https://library.kku.ac.th/ulib/dublin.php?ID=47380#.XtesSzr7SUk

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์. (2551). มัดใจ Gen Y ด้วยดีไซน์ โดน ๆ. สืบค้นจาก http://www.marketingoops.com/brand-marketing/strategy-brand-marketing/gen-y/

Armstrong, G., & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Burawa. (2017.). Retrieved from https://web.facebook.com/burawa2540/

Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Dehghani, M., & Tumer, M. (2015). A research on effectiveness of Facebook advertising on enhancing purchase intention of consumers. Computers in Human Behavior, 49, 597–600. https://doi.org/10.1016/j.chb.2015.03.051

Dodds, W. B., & Grewal, D. (1991). Effect of price, brand and store information on buyer’s product evaluation. Journal of Marketing Research, 28(3), 307-319.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Grewal, D., Monroe, K., & Krishnan, R. (1998). The Effects of Price Comparison Advertising on Buyers' Perceptions of Acquisition Value and Transaction Value. Journal of Marketing, 62(2), 46-59.

Lee, C. H., Eze, U. C. and Ndubisi, N. O. (2011). Analyzing Key Determinants of Online Repurchase Intentions. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 23, 200-221.

Kobayashi, M. L., & Benassi, M. d. T. (2015). Impact of packaging characteristics on consumer purchase intention: instant coffee in refill packs and glass jars. Journal of Sensory Studies, 30(3), 169-180.

Kupiec, B., & Revell, B. (2001). Measuring consumer quality judgments. British Food Journal, 103(1), 7-22.

SCB Economic Intelligence Center (2014). Capturing Gen Y consumers. Retrieved from https://www.scbeic.com /th/detail/product/130

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

How to Cite

กลั่นคำ ก. .; ฟักแฟง ธ. .; ธรรมฤทธิ์ ธ. .; หิรัญกิตติ พ. .; บัวพรมมี ณ. .; มีจินดา ป. . การพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากหญ้าแฝก ภายใต้แบรนด์ Burawa. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 16, n. 2, p. 121–140, 2021. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/252692. Acesso em: 12 เม.ย. 2025.