ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายรูปแบบกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • นัชส์ณภัทร์ เจียมวิจิตร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การปรับตัว, ความอยู่รอด, ยุควิถีชีวิตใหม่, ผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะการปรับตัวของธุรกิจ ปัจจัยสภาพแวดล้อม ปัจจัยเครือข่าย และปัจจัยนวัตกรรม ที่มีผลต่อความอยู่รอดในยุควิถีชีวิตใหม่ ของผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายก เพื่อศึกษารูปแบบของกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุควิถีชีวิตใหม่ ของผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายก และเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายรูปแบบ กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุควิถีชีวิตใหม่ ของผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายก ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิจัยแบบผสม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ที่เกี่ยวข้องเชิงนโยบาย ผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายก จำนวน 15 คน ตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ประกอบการเกี่ยวกับการผลิตสินค้า กลุ่มผู้ประกอบการเกี่ยวกับการให้บริการ/ท่องเที่ยว และกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก จำนวน 400 คน เมื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยลักษณะการปรับตัวของธุรกิจ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยเครือข่าย และปัจจัยนวัตกรรม ส่งผลต่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับแนวทางในการเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายกโดยใช้ เมททริกซ์ทาวซ์ สามารถกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่ การทำกลยุทธ์ตลาดบนพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข ได้แก่ การสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการ ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน ได้แก่ การปรับกระบวนการทำงานให้มีความทันสมัย และยุทธศาสตร์เชิงรับ ได้แก่ การผลักดันด้านการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ

References

กฤศกร จิรภานุเมศ, สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และพนิดา แช่มช้าง. (2554). ผลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและกลยุทธ์ ที่มีต่อความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดําเนินงานการศึกษาเชิงประจักษ์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิทยาการจัดการ, 28(1), 1-15.

โกวิทย์ ตันฑ์มานะธรรม. (2556). การศึกษากลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจตัวแทนจำหน่ายหน่ายเครื่องปรับอากาศ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 9(3), 39-46.

แคทลียา ทาวะรมย์. (2543). การประยุกต์ใช้การวิเคระห์การอยู่รอดในการศึกษาการออกกลางคันของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ณัฐวัฒน์ สุขะศิริวัฒน์ และณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2557). ความท้าทายและข้อจำกัดของการขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 37(1), 119-131.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การปรับตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤตโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 1-25.

บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฐมพร ทรงสุโรจน์. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการกู้เงินของผู้ประกอบการ SMEs. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พงษ์เทพ จันทสุวรรณ. (2553). ประสิทธิผลองค์การ: ปฏิบทแห่งมโนทัศน์. วารสารร่มพฤษ์, 28(3), 133-182.

พิบูล พิณปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

เพียร์ พาวเวอร์. (2564). 3 กลยุทธ์ระดับธุรกิจในโลกยุค COVID-19. สืบค้นจาก https://www.peerpower.co.th/blog/smes/3-businessstrat-กลยุทธ์ระดับธุรกิจ/

ภูวนารถ ถาวรศิริ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจน้ำดื่มท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 2171-2187.

รณชิต พฤษกรรม. (2547). การศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์อิทธิพลสุ่มกลุ่มเวลาการอยู่รอด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น.

วิลาวัลย์ อ่อนวงษ์เปรม, ชัยพล หอรุ่งเรือง, พิษณุ สันทรานันท์ และศรายุทธ เล็กผลิผล. (2563). กลยุทธ์การปรับตัวด้านการตลาดที่มีต่อการรับรู้คุณค่าอาหารไทยดั้งเดิม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1), 254 – 266.

ศิตา จิตรลดานนท์, อารีรัตน์ ปานศุภวัชร และสันติภาพ สุขเอนกนันท์. (2560). ผลกระทบของกลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(2), 64-75.

สมยศ นาวีการ. (2544). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สุพัฒน์ โตวิจักษ์ชัยกุล. (2555). ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกข้ามชติที่มีต่อธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กของไทย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาชนัน เกาะไพบูลย์ และ เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ. (2563). การปรับตัวของผู้ประกอบการท่ามกลาง COVID-19: บทวิเคราะห์ข้อมูล Survey. สืบค้นจาก https://waymagazine.org/covid-policy-brief-3/

Adams, G. J. & Singer, D. M. (1993). Teacher survival: a cox regression model. Education and Urban Society November, 26(1).

Bernard, R. (1960). Evolution above the species level. New York: Columbia University.

Dess, G. G., Ireland, R. D., Zahra, S. A., Floyd, S. W., Janney, J. J., & Lane, P. J. (2003). Emerging issues in corporate entrepreneurship. Journal of Management, 29(3), 351-378.

Farinda, A. G., Kamarulzaman, Y., Abdullah, A., & Ahmad, S. Z. (2009). Building business networking: a proposed framework for Malaysian SMEs. International Review of Business Research Papers, 2(5), 151-160.

Freeman, L. C. (1977). A set of measures of centrality based on betweenness. Sociometry, 40(1), 35-41.

Gregory, D. F., & Miller, A. (1993). Strategic management. Singapore: McGraw-Hill.

Hunger, J. D., & Wheelen, T. L. (2003). Essentials of strategic management. New Jersey: Prentice Hall.

Jovanovic, B. (1982). Selection and the evolution of industry, Econometrica, 50(3), 649 – 670.

Khasasin, R., Piriyakul, R., & Khantanapha, N. (2016). Firm performance and entrepreneurial compatency, competitive scope and firm capability. Kasem Bundit Journal, 17(1), 1–21.

Lalaeng, C., Chaiphet, C., & Uea-aree, W. (2018). Business networking development and competitive advantage of community enterprise in Chumphon province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 3447-3464.

Lin, Y. J., & Zhang, Q. (2005) Optimising the tissue culture conditions for high efficiency transformation of Indica Rice. Plant Cell Reports, 23, 540-547.

Muchinsky, P. M. (2003). Psychology applied to work (7th ed.). California: Wadsworth.

Nahapiet, J., & Ghoshal, S. (1998). Social capital, intellectual capital, and the organizational advantage. The Academy of Management Review, 23(2), 242-266.

Roy, C., & Andrews, H. A. (1999). The Roy's adaptation model. Stamford: Appleton & Lange.

Shamir, B., & Howell, J. M. (1999). Organizational and contextual influences on the emergence and effectiveness of charismatic leadership. The Leadership Quarterly, 10(2), 257–283.

Stuart, J. B. (2020). Information management research and practice in the post-covid-19 world. International Journal of Information Management, 55(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

How to Cite

เจียมวิจิตร น. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายรูปแบบกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายก. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 16, n. 2, p. 103–120, 2021. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/252295. Acesso em: 4 เม.ย. 2025.