อิทธิพลที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีผ่านแอปพลิเคชันส่งอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชัน, การยอมรับเทคโนโลยี, อิทธิพลทางสังคม, ทัศนคติต่อการใช้งาน, คุณภาพการบริการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการยอมรับการใช้เทคโนโลยีรับส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีรับส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งต้องเคยใช้งานแอปพลิเคชันส่งอาหารฟู้ดเดลิเวอรี จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ใช้ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีแตกต่างกัน 2) ปัจจัยอิทธิพลทางสังคม ทัศนคติต่อการใช้งาน และคุณภาพการบริการส่งผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมการดังกล่าวมีอำนาจพยากรณ์เท่ากับร้อยละ77 และสามารถสร้างสมการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุได้ดังนี้ Ŷ = 0.38+0.28 x1**+0.47x2**+0.16x3** ผลการศึกษาในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้มีแนวทางเพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการแอปพลิเคชันต่อไป
References
เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ทิพย์วัลย์ สุทิน. (2557). จิตวิทยาสังคม. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ธุรกิจส่งอาหารแบบดิลิเวอรี่ในปี 2563. สืบค้นจาก http://www.bot.or.th.
วศินี อิ่มธรรมพร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยี ความสะดวกในการใช้บริการ และการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย (Gen Y) ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
วสุดา รังสิเสนา ณ อยุธยา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. (หน้า. 1464-1478).
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). การแข่งขันของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery เติบโตต่อเนื่อง คาดมีมูลค่าสูงถึง 33,000 -35,000 ล้านบาท ในปี 2562 ทัศนคติ. สืบค้นจาก http://www.kasikornresearch.com.
อริญญา เถลิงศรี. (2563). 4 ทักษะที่นักการตลาดต้องมี เพื่อรับมือ New Normal ของโลกการตลาดยุคหลัง Covid-19. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2020/04/covid-19-change-behavior-new-normal.
Friedkin, N. E., & Johnsen, E. C. (1999). Social Influence Network and Opinion Change. Advance in Group Processes Journal, 16(1), 1-29.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: balancing customer perceptions and expectations. London: Collier Macmillan.
Schermerhorn, J. R. (2000). Organizational behavior. (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Venkatesh, V., & Davis, F. D. (2000). A Theoretical Extension of the Technology Acceptance Model: Four Longitudinal Field Studies. Management Science, 46(2), 186-204.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว