การเลือกคลังสินค้าของผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ผู้แต่ง

  • ชยุต ทับเที่ยง คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จุฑาทิพย์ สุรารักษ์ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ , การขนส่ง , คลังสินค้า, การเลือกคลังสินค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ระยะทางและระยะเวลาของการขนส่งสินค้าของผู้ให้บริการคลังสินค้าของแต่ละราย (2) เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกคลังสินค้าของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความเหมาะสมต่อบริษัทกรณีศึกษา การวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งระหว่างผู้ให้บริการคลังสินค้า 4 แห่ง ที่ตั้งของท่าเรือแหลมฉบังและที่ตั้งของบริษัทกรณีศึกษา คือ โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง โดยกำหนดเงื่อนไขการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์จากระยะทางการขนส่งที่สั้นที่สุดและเงื่อนไขระยะเวลาน้อยที่สุด ผลการวิจัย พบว่าคลังสินค้า A ที่บริษัทกรณีศึกษาเลือกใช้บริการในปัจจุบัน ยังคงเป็นคลังสินค้าที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขระยะทางการขนส่งที่สั้นที่สุด แต่คลังสินค้า D เป็นคลังสินค้าที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขระยะเวลารวมในการขนส่งที่น้อยที่สุด นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองการขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกโดยนำความถี่ของการขนส่งมาวิเคราะห์ แสดงให้เห็นว่าการเลือกใช้บริการคลังสินค้า D สำหรับโลจิสติกส์ขาเข้าและเลือกใช้บริการคลังสินค้า A สำหรับโลจิสติกส์ขาออก มีระยะทางรวมสั้นที่สุดเท่ากับ 1,648.71 กิโลเมตร และระยะ เวลารวมน้อยที่สุดเท่ากับ 3,706.12 นาที ดังนั้นถ้าบริษัทกรณีศึกษาตัดสินใจเลือกมาใช้บริการทางเลือกนี้จะทำให้สามารถลดระยะทางในการขนส่งรวมได้ 849.96 กิโลเมตร ลดเวลารวมได้ 983.79 นาทีและยังลดต้นทุนในการการขนส่งสินค้าขาเข้า-ขาออกเท่ากับ 32,555 บาท

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2557). คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โฟกัส มีเดีย แอนด์ พลับลิชชิ่ง.

ณัฏฐ์ ทองคำ. (2559). การวิเคราะห์หาพื้นที่ศักยภาพสำหรับศูนย์ไปรษณีย์แห่งใหม่ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ประจักษ์ พรมงาม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าสำหรับกระจายสินค้า: การทบทวนวรรณกรรม. Academic Journal Bangkokthonburi University, 9(2), 110 -122.

วิเชียร ฝอยพิกุล. (2547). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย ArcView. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วุฒิไกร ไชยปัญหา. (2560). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการปรับปรุงเส้นทางการจัดส่งสินค้า สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโรงงานน้ำเเข็งในเขตอำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 7(2), 1–13.

สถาบันยานยนต์. (2555). แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี พ.ศ. 2555-2559. เข้าถึงได้จาก http://www.thaiauto.or.th/2012/th/research/research-detail.asp?rsh_id=39

สรรค์ใจ กลิ่นดาว. (2542). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: หลักการเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนามาตรฐานเเรงงาน. (2562). แผนยุทธศาสตร์กรมสวัสดิการเเละคุ้มครองเเรงงาน (พ.ศ. 2560 – 2562). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

อุเทน ทองทิพย์. (2555). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สาหรับการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Burinskiene, A. (2014). Selection of warehouse place in International Conference on Industrial Logistics, ICIL 2014 (pp. 13-19). Croatia: Faculty of Mechanical Engineering and Naval Architecture Zagreb.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

ทับเที่ยง ช. .; สุรารักษ์ จ. . การเลือกคลังสินค้าของผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 17, n. 1, p. 31–45, 2022. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/251837. Acesso em: 18 เม.ย. 2025.