สภาพปัจจุบัน ความต้องการและความคาดหวังของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปที่มีตอ่การขายสินค้าผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์
คำสำคัญ:
ความต้องการและความคาดหวัง, ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอป, ตลาดอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 2) ศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปผ่านตลาด อิเล็กทรอนิกส์ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปต่อการขายสินค้าผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอป จำนวน 350 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ ไควสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันใช้ช่องทางการขายสินค้าผ่านเฟสบุ๊คมากที่สุด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปมีความต้องการและความคาดหวังที่จะมีเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการขายเป็นของตนเองมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 81.10 และมีความต้องการ และความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรมเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าโอทอปผ่านทางตลาดอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.30 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ผลิต และจำหน่ายสินค้าโอทอปต่อการขายสินค้าผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ เพศ อายุ ประเภทของสินค้าโอทอป และรายได้ของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอป
References
ชลิดา โป๊ะมา. (2550). การศึกษาศักยภาพของกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอปในด้านการผลิตและช่องทางการจัดจำหน่าย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ทิวา แก้วเสริม. (2551). ปัญหาและความต้องการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์. (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
นิภา ทองก้อน. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตสินค้า OTOP ในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎ นครปฐม).
ฟูจิอิระ จุน. (2550). การเรียนรู้การจัดการอย่างยั่งยืนจากกลุ่มทอผ้าโอทอปหนองหญ้าปล้องในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
สมลักษณ์ เพชรช่วย. (2547). ความคาดหวังในการเรียนการศึกษาสายสามัญวิธีเรียนทางไกลของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สุวัฒน์ นิลดำ. (2551). การศกึษาวิสาหกิจชุมชนร้านจำหน่ายสินค้าศูนย์บริการทางหลวงเขาโพธิ์จัหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
เสาวณี จุลิรัชนีกร และสุดชีวนั จันทอง. (2557, มกราคม-มิถุนายน). โอกาสและศักยภาพทางการตลาด สำหรับผลิภัณฑ์กะปิผลของกลุ่มโอทอปเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการ จัดการ, 31(1), 149-167. สืบค้นจาก http://journal.fms.psu.ac.th/files/Article_JOFMS/No.31%20V.1%2057/FMS_journal%20No31%20Vol.1%202557.7.pdf
สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2556). ความเป็นมาของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้นจาก http://www.cep.cdd.go.th/
อรรถสิทธิ์ ทองทั่ว. (2552). การพัฒนาตัวกลางการค้าเพื่อการล่งออกสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. RMUTT Global Business and Economics Review, 5(1), 95-102.
อุษณีย์ มากประยูร. (2551). สภาพและปัญหาการสื่อสารการตลาดของธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 4(7), 9-19.
Krejcie, V. & Morgan, W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Maslow, A. (1970). Motivation and personality. New York: McGraw-Hill.
Souza, J. (2013). Social-media trends that can’t be ignored in 2013. Retrieved from Thaitambon. (2557). Thaitambon. สืบค้นจาก http://www.thaitambon.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว