การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ -

Main Article Content

kittipong latebson
สายฝน เสกขุนทด

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2) ประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App และ 4) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 21 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ แบ่งออกเป็นหน้าจอต่างๆ ดังนี้ หน้าหลัก หน้าเนื้อหา หน้าเนื้อหารูปแบบเอกสาร หน้าเนื้อหารูปแบบสไลด์นำเสนอ หน้าเนื้อหาแบบวิดีโอ หน้าแบบทดสอบ หน้าแบบทดสอบความพึงพอใจ และหน้าออกจากระบบ 2) ผลการวิเคราะห์ระดับความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 4.67, S.D. = 0.38 ) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และ หลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ    3) ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันสื่อการเรียนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Glide App พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.66, S.D. = 0.23)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณิศร จี้กระโทก. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนสมาร์ทโฟน เรื่องแนวคิดเชิงคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 5 (2), 404-418. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2565). คลังนวัตกรรมคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Glide Application. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567.

พลปชา มณรัตนชัย, นราธิป เปี่ยมชั้น, ศุภณัฐ ประยูร, วิชนี มัธยม และภัทรภร อินทนาศักดิ์. (2563). การพัฒนา แอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17 (2), 483-494.

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562.

ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นพดล ผู้มีจรรยา และ อาลดา สุดใจดี. (2564). การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางลี่วิทยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 10 (1), 33-44.

วนิดา จำนงค์ผล, ปริญญา ทองสอน และ สฏายุ ธีระวณิชตระกูล. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและ การดำเนินชีวิตในสังคมโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,

(1), 196-207.

สายฝน เสกขุนทด. (2562). กฎหมายและจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สายฝน เสกขุนทด และชัยณรงค์ มะหารักษ์. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสําหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8 (2), 213-228.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [สพธอ]. (2564). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใน

ประเทศไทย ปี 2564.(ออนไลน์) ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-

Internet- UserBehavior-2021Slides.aspx

อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ และ ธนาวดี ขุนด้วง. (2565). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้การใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะด้านการ

อ่าน กรณีศึกษาวิชาภาษาไทยสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 11 (1), 29-39.

Kurt, S. (2018). “ADDIE Model: Instructional Design.” Educational Technology. [Online]. Retrieved December 2, 2019,

from https://educationaltechnology.net/the-addiemodelinstructional- design/.