ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักและผลไม้สดผ่าน Food Delivery Application ของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งซื้อ ปัจจัยทางวัฒนธรรม และปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคชาวจีนที่เคยใช้บริการ Food Delivery Application ในการสั่งซื้อผักและผลไม้สดที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ชุด นำข้อมูลที่ได้มาไปวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ได้แก่ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด และด้านการให้บริการส่วนบุคคล ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ ด้านประเภทสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ด้านเหตุผลในการซื้อของผู้บริโภค ด้านแหล่งข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจ ด้านช่วงเวลาในการซื้อ และด้านประเภทบริการ Food Delivery ที่ผู้บริโภคไปทำการซื้อ ปัจจัยทางวัฒนธรรมและปัจจัยทางสังคมกลุ่มอ้างอิง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักและผลไม้สดผ่าน Food Delivery Application ของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณิชารีย์ ทวีพัฒนะพงศ์. (2560). อิทธิพลของภาพลักษณ์องค์กร ส่วนประสมการตลาดและประโยชน์ที่ได้รับที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์
Lazada ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี :
กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค พริ้นติ้ง.
ธัญลักษณ์ เพชรประดับสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธันยาภรณ์ จันทะวงค์. (2564). ปัจจัยกลุ่มบุคคลอ้างอิงส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขต
กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8 (2), 314-329.
พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.
การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พีระนัฐ โล่วันทา. (2564). การตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ภาณิณี ภูเขา. (2564). แรงจูงใจ กลุ่มอ้างอิง และบทวิจารณ์ออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง
ลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8 (2), 126-142.
มาริสา ชนมานะวัตร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผักและผลไม้สดของผู้บริโภคในระบบสายโซ่ความเย็น (Cold Chain) จากร้านค้าปลีกสมัย
ใหม่. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
รวิภา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านเว็บไซต์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิส์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัย
นเรศวร.
อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านสังคม ออนไลน์(เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อาทิตย์ ว่องไวตระการ. (2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด ออนไลน์ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคในการ
ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อานง ใจแน่น จาตุรงค์ แก้วสามดวง และฐิติวรฎา ใยสำลี. (2564). “อาหารจีนในประเทศไทย” กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมอาหาร. วารสารวัฒนธรรมอาหาร
ไทย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3 (1), 47-55.
อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร. (2565). บทสรุปพฤติกรรมผู้บริโภคจีน ช้อปปิ้งออนไลน์ 2021 สู่ 2022. ค้นเมื่อ กันยายน 18, 2565, จาก
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/999352.
DURMAZ Yakup, CELIK Mücahit and ORUC Reyhan. (2011). The Impact of Cultural Fac tors on the Consumer Buying Behaviors Examined
through an Empirical Study. Economic and Administrative Sciences Adiyaman University.
Meral Acemogullari. (2020). The Influence of Psychological, Social, and Cultural Factors towards on Online Shopping in Bangkok,
Graduate thesis of Master of Business Administration, The Graduate School of Bangkok University.
Najib, M., Sumarwan, U., Septiani, S., Waibel, H., Suhartanto, D. and Fahma, F. (2022). Individual and Socio-Cultural Factors as Driving
Forces of the Purchase Intention for Organic Food by Middle Class Consumers in Indonesia. Journal of International Food &
Agribusiness Marketing, 34(3), 320-341, DOI: 10.1080/08974438.2021.1900015.
SYNC Southeast Asia. (2565). SYNC Southeast Asia. (2565). Southeast Asia’s Digital Consumers: A New Stage of Evolution.
ค้นเมื่อ กันยายน 10, 2565, จาก https://www.facebook.com/business/m/sync-southeast-asia.
William, G.C. (1941). Sampling Theory When the Sampling-Units are of Unequal Sizes. Journal of the American Statistical Association, 37,
-212. doi:10.2307/2279214.