เทคโนโลยีในการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคชีวิตวิถีถัดไป
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคชีวิตวิถีถัดไปหรือ "Next Normal" เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหรืออื่น ๆ เพื่อทำการฟื้นฟูการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มีมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ที่เรียกว่า "RECOVER" ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในระยะเร่งด่วน มีทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ 2) ด้านคุณภาพการเรียนรู้ โดยส่งเสริมพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สร้างกลุ่มการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ระยะไกล และ 3)ด้านสุขภาพจิตของผู้เรียน โดยให้บริการในการดูแลสุขภาพจิตและการปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและส่งเสริมการเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้อง การศึกษาในยุคชีวิตวิถีถัดไปพบว่าการเรียนรู้ควรเป็นการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ช่วยลดช่องว่างในการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสความเท่าเทียมกันในการประสบความสำเร็จในการศึกษาของผู้เรียนแต่ละคน การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เน้นความรับผิดชอบและการเรียนรู้แบบกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้และตนเองไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ควรวัดผลลัพธ์ว่าผู้เรียนเหมาะกับการเรียนรู้รูปแบบใดจะช่วยให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยใช้เทคโนโลยีที่มาแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ Learning loss ดังนี้ 1) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Platform) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม 2) เครื่องมือการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning Tools) ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่หลากหลายและมีส่วนร่วมมากขึ้น 3) การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง (Immersive Learning) เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริงโดยผสานข้อมูลเสมือนจริงเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างง่ายดายและมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่อเรียนรู้ และ 4)เทคโนโลยีการเรียนรู้แบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Learning) เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล ทั้งสี่เทคโนโลยีนี้สามารถใช้เพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกมล ศรีวัฒน์. (2566). เมื่อการศึกษาเผชิญหน้า AI: แง่มุมไหนที่การศึกษาไทยต้องเตรียมตัว. ค้นเมื่อ ตุลาคม 16, 2566,
จาก https://www.the101.world/ai-for-teaching-and-learning.
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). เมื่อเด็กยุคโควิดเผชิญภาวะ "การเรียนรู้ถดถอย" รัฐต้องแก้อย่างไร?. ค้นเมื่อ ตุลาคม 1,
, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1007890.
แก้วเกล้า รอบรู้. (2566). Extended Reality (XR) คืออะไร?ทำงานอย่างไร ต่างจาก AR/VR ขนาดไหน. ค้นเมื่อ ตุลาคม 16, 2566,
จาก https://hocco.co/blog/extended-reality/.
จตุรงค์ พะยอมแย้ม. (2564). การศึกษาไทยในยุค next normal. ค้นเมื่อ ตุลาคม 1, 2566,
จาก https://il.mahidol.ac.th/th/newsletter64-page-9/.
ปาริชาติ ปรีชากร. (2565). การจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีถัดไป (The Next Normal). ค้นเมื่อ ตุลาคม
, 2566, จาก https://bsru.net/การจัดการเรียนการสอนใน/.
เปรมินทร์ สิงห์ซอม และ พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม. (2565). การสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดองค์กร
ปกครองท้องถิ่น ในยุค New normal สู่ยุค Next normal. วารสารนิสิตวัง, 8 (2), 1-11.
พรชัย อินทร์ฉาย. (2565). สสวท. หนุนการฟื้นฟูภาวะถดถอยการเรียนรู้วิทย์-คณิต-เทคโนโลยี. ค้นเมื่อ ตุลาคม
, 2566, จาก https://www.ipst.ac.th/news/26624/20220519_ipst-go-digital.html/.
ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศ สู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. ค้นเมื่อ ตุลาคม 16,
, จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples- of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/.
วิจารณ์ พานิช. (2565). เปลี่ยนวิกฤตการเรียนรู้ถดถอย เป็นโอกาสปฏิรูปการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน. ค้นเมื่อ ตุลาคม 16, 2566,
จาก https://thepotential.org/knowledge/learning-recovery.
วีนัส กัลปกรณ์. (2566). เจาะลึกเทคโนโลยี VR/AR และเหนือกว่าด้วย MR แห่งยุค Metaverse . ค้นเมื่อ ตุลาคม 1, 2566,
จาก https://thegrowthmaster.com/blog/vr-ar-mr-metaverse.
ยศวีร์ สายฟ้า. (2565). Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย. ค้นเมื่อ ตุลาคม 2, 2566,
จาก https://research.eef.or.th/learning-loss-recession/.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2564). โควิด 19 กับ การศึกษาวิถีใหม่. ค้นเมื่อ กันยายน 30 , 2566,
จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=3&l=1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). การศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 : สภาพการณ์
บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. ค้นเมื่อ ตุลาคม 25, 2566, จาก https://opac01.stou.ac.th/multim/Gift_eBook
/167260.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รายงานผลการศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 :
สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. ค้นเมื่อ ตุลาคม 12, 2565, จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1932-
file.pdf.
เสกสันต์ พันธุ์บุญมี. (2564). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2, 2566,
จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal.
อติวงศ์ สุชาโต และคณะ. (2566). สกศ.ใช้ CSC โมเดลแก้ภาวการณ์เรียนรู้ถดถอยของเด็กไทย. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2, 2566,
จาก www.krupatom.com/wp-content/uploads/2023/03/2008-file.pdf.
อรรถพล สังขวาสี. (2565). การศึกษาแนวทางการประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของผู้เรียนระดับประถมศึกษา. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2, 2566,
จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/992676.
Office of the Basic Education Commission. (2022). Office Policy Announcement Basic Education Commission, Fiscal Year 2023.OBEC,