A STUDY การศึกษาความคาดหวังและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำภาคกลาง

Main Article Content

ปวเรศร์ พันธยุทธ์
ฉัตรตระกูล ปานอุทัย
อรทัย แย้มโอษฐ์
พัชรี ทองคำพานิช
สำราญ ศรีสังข์
ครรชิต มุละสีวะ
สิปปนันท์ หวังกิจ
หริต หัตถา
วสิฐ สุโกศล
นฤมล ศรีสุวรรณ
นรีรัตน์ บุตรบุญปั้น
จัตุภรณ์ พลเสน

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำ
ภาคกลาง เครื่องมือในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน
มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของ แบบสอบถามชุดที่ 1 และชุดที่ 2 เท่ากับ .87 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เท่ากับ 1 และนำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามชุดที่ 1 มีค่าเท่ากับ .97 และชุดที่ 2 เท่ากับ .96 กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 808 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในลักษณะพรรณนาความอธิบายผลบนพื้นฐานเชิงแนวคิด และกรอบแนวคิดการวิจัย และนำเสนอข้อมูลในแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า    


       ความคาดหวังและความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำภาคกลาง 5 ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่


  1. ด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้ในทฤษฎีและหลักการพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไปและความรู้ในวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายแบบสหวิชา

  2. ด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยต้องมีความใฝ่รู้ และติดตามการเปลี่ยนแปลงความรู้ในสาขาวิชาชีพอยู่เสมอ ตลอดจนต้องมีทักษะการสอนและการเป็นผู้นำการออกกำลังกายที่โดดเด่นเฉพาะด้าน

  3. ด้านจริยธรรม ได้แก่ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตา ความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ เสียสละ มีจิตสาธารณะ โดยมีคำสอนทางพระพุทธศาสนาและหลักกฎหมายเป็นหลักยึดในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

  4. ด้านลักษณะบุคคล ได้แก่ มีความเป็นผู้นำ บุคลิกภาพดี รูปร่างสมส่วน มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และกล้าแสดงออก

  5. ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ควรจัดการเรียนการสอนควบคู่ไปพร้อมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยเน้นในภาคปฏิบัติ ให้ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัณฑิตา อินสมบัติ และปราณี เนรมิตร. (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาทีสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0: กรณีศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14 (2), 159-170.

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปร ดักท์.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2565). แนวทางการจัดทำหลักสูตรใหม่/หลักสูตรปรับปรุงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) ตามเกณฑ์

มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. ฝ่ายมาตรฐานการศึกษา สำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562). พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24 (2), 3-12.

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9 (2), 169-176.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์แอนด์ ปริ้นท์.

ศากุล ช่างไม้. (2546). การเก็บข้อมูล การจัดการกับข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 9 (3), 164-173.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-

ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566-2570. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวง

การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม .

Best, J.W. (1981). Research in Education (4th ed). New Jersey: Prentice-Hall.