การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ของวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้แห้งจากธรรมชาติบ้านหนองสองตอน จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ในการผลิตและ (2) ศึกษากลยุทธ์ที่ใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้แห้งจากธรรมชาติบ้านหนองสองตอน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มโดยเจาะจงผู้ที่เป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า 5 ปี รวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลตามหลักสามเส้า วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสร้างกลยุทธ์ด้วยวิธี TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพแวดล้อมของกลุ่มวิสาหกิจ มีจุดแข็งในเรื่องต้นทุนของวัตถุดิบต่ำและงานฝีมือที่มีเอกลักษณ์ จุดอ่อน ขาดการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินงาน โอกาส ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ อุปสรรค สภาพอากาศมีผลต่อระยะเวลาในการผลิต และมีแรงกดดันจากภายนอกที่สำคัญของผู้จัดหาวัสดุจากต่างพื้นที่ที่มีผลต่อการกำหนดราคาของสินค้า (2) กลยุทธ์เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างกลยุทธ์เชิงรุกด้วยการสร้างสรรค์สินค้าให้หลากหลายและเข้าร่วมการจัดแสดงต่างๆ เชิงป้องกันควรสร้างเครือข่ายผู้จัดหาวัสดุเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองของกลุ่มและเพิ่มปริมาณการคลังวัสดุในช่วงที่มีอากาศเหมาะสม และกลยุทธ์เชิงแก้ไขและรับมือคือการพัฒนาทักษะด้านภาษาและด้านเทคโนโลยี เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการดำเนินงานเพิ่มอุปสงค์ และจัดการอุปทานเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2563). การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนภคตะวันออก โดยใช้การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน.
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15 (1), 176-196.
ธนัตถ์นันท์ สุขโชคนิธิโภคิน. (2559). กลยุทธ์โลจิสติกส์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนไก่สดในประเทศไทยเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน. วิทยานิพนธ์หลักสูตร
ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัสดิ์. (2561). การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์กับผู้ประกอบการ SMEs ของไทย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),
(2), 197-213.
พเยาว์ สายทองสุข. (2559). การศึกษากลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น
ประเภทผ้าซิ่นตีนจก (ผ้าคูบัว). วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
รัตนโกสินทร์.
วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ. (2560). กลยุทธ์สินค้าวิสาหกิจชุมชนของผู้ประกอบการเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและ
ภาคเอกชน, 5 (2), 27-41.
ศิริชัย นาคอุดม ธนกฤต ยอดอุดม และ เพียงพิศ ศรีประเสริฐ. (2563). ทุนทางสังคม: ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน. วารสารนักบริหาร, 40(1),
-124.
อภิชาติ ใจอารีย์. (2565). การจัดการตนเองด้วยกระบวนการจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง,
(3), 51-70.
อิสรี แพทย์เจริญ อริย์ธัช อักษรทับ และ ชาญวิทย์ จาตุประยูร. (2565). ปัจจัยความสำเร็จของ การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ตำบลบ้านธิ
อำเภอบ้านธิ จังหวัด ลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัย พายัพ, 32 (2), 82-98.
Leite, E., and Bengtson, A. (2018). A business network view on value creation and capture in public-private cooperation. Industrial
Marketing Management, 73 (1), 181-192.
Porter, Michael E. (1980). Competitive Strategy. New York : The Free Press.