การศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4E x 2 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4E x 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 ให้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และ 3)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (cluster random sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่จัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งประเมินการคิดขั้นสูง ตามแนวคิดทฤษฎีของ Bloom's Taxonomy ได้แก่ การคิดวิเคราะห์
การคิดสังเคราะห์และการคิดประเมินค่า จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4E x 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยเลขคณิต, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที่ แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t – test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4Ex2 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
- ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4E x 2 อยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2557). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธาริณี ชื่นบาน. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4Ex2
ร่วมกับเทคนิคเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. นันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2560). ความรู้พื้นฐานด้านการเรียนการสอน Basic knowledge on instruction. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราวรรณ จันทรนุวงศ์. (2557). การคิดและการคิดเกี่ยวกับการรู้ : แนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดของผู้เรียน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สุกัญญา ทาโสด. (2562). เอกสารประกอบการสอน หัวข้อ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. เชียงราย: คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย.
เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น
Bloom. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain. New York: David Mc Kay Company.
Marshall, J., Horton, C., and Smart. (2008). “4Ex2 Instructional Model: Uniting Three Learning Constructs to Improve Praxis in Science and Mathematics Classrooms.” Research paper presented at Association of Science Teacher Education (ASTE) international
conference. St. Louis, MO.