การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของเยาวชนไทย ในยุค Disruptive Innovation การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของเยาวชนไทยในยุค Disruptive Innovation

Main Article Content

ศศิพิมพ์มาศ หงษ์สมบัติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของเยาวชนไทยในยุค Disruptive Innovation 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบคุณลักษณะของเยาวชนไทยในยุค Disruptive Innovation การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์ คำถามปลายเปิด สัมภาษณ์นักวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาการด้านการวัดผลประเมินผล และผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และรูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนไทยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อายุระหว่าง 18 -25 ปี จำนวน 540 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบคุณลักษณะของเยาวชนไทยในยุค Disruptive Innovation มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม องค์ประกอบด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี องค์ประกอบด้านชีวิตและอาชีพ และองค์ประกอบด้านสังคมและความมีจริยธรรม 2) ความตรงเชิงโครงสร้างจากการสำรวจองค์ประกอบด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง มีรายละเอียดดังนี้ ค่าไค-สแควร์: Chi-square = 924.44, องศาความเป็นอิสระ = 100, p – value = 0.000, GFI = 0.82, AGFI = 0.76 และ RMR = 0.051

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ, บุญเรือง ศรีเหรัญ และชาตรี เกิดธรรม และคณะ. (2557). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะ

ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16(1), 45-55.

โกศล แตงอุทัย. (2559). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. ค้นเมื่อ ธันวาคม 22, 2562,

จาก http://www.youtube.com/watch?v=e51MVmTJz-U.

จาตุรนต์ ฉายแสง. (2556). นโยบายด้านการศึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในวันพฤหัสบดีที่ 11

กรกฎาคม 2556 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ. ค้นเมื่อ มกราคม 15, 2563,

จาก https://silo.tips/download/11-2556.

ทนุภา สายทิพย์. (2558). การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน

สังกัด เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 5(1), 56-58.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์ และปวีณา จันทร์สุข. (2556). รายงานโครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างทักษะ

แห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชนไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ:

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21:

ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

ปิยะบุตร ชลวิจารย์. (2559). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. ค้นเมื่อ มกราคม 15, 2563,

จาก http://www.youtube.com/watch?v=e51MVmTJz-U.

พระอำนาจ อตถกาโม (น้อยนิล). (2554). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศึกษา

สงเคราะห์บางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พาที เกศธนากร. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่21คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ

กาญจนบุรี. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(1), 97-107.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 3-14.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. ค้นเมื่อ

มกราคม 15, 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2551-

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. (2562). สถิตประชากรทางทะเบียนราษฏร.

ค้นเมื่อ มกราคม 15, 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/ statmonth/#/mainpage.

Cronbach, Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd Ed. New York: Harper and Row.

Gustavo Carlo & Branddy Randall. (2002). The Development of a Measure of Prosocial

Behaviors for Late Adolescents. Journal of Youth and Adolescence, 31(1), 31-44.

Hair, J.F. and others. (2006). Multivariate data analysis. 6th ed. Upper Saddle River, N.J.: Pearson Education Inc.