การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน

Main Article Content

พฤฒภณ วุฒิสุข
ภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้น 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/11 โรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


       ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้นจำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นจากการประเมินว่าบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้กับรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เนื่องจากมีเนื้อหาที่สามารถให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้หลายรูปแบบ โดยมีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 และด้านการออกแบบบทเรียนอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 2) ผลของการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เกณฑ์ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 84.44/82.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

จักรพันธ์ ทองมูลเนือง. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาวิทยาการ คำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 5. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-19.

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองของผู้เรียนผู้ใหญ่ของกิจกรรมการศึกษาผู้ใหญ่บางประเภท.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐกิตติ์ พุฒินาทไพศาล และภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมตามรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนหา (สมัครพลผดุง). ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการ

เทคโนโลยีและนวัตกรรม”ครั้งที่ 5 (4-5 มีนาคม 2562), 7 หน้า, 1329-1335. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญพัทธ์ รังสิธนิตศักดิ์ และภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้

ด้วยตนเองด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง Microsoft Excel สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.

นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ธนภัทร นิลศรี. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนถาวรานุกูล

จังหวัดสมุทรสงครามโดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรี มะแสงสม. (2544). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์

อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ยิ่งคุณ รอดทิม, กาญจนา บุญภักดิ์, และศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก สำหรับนักเรียนระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

รุ่งอรุณ ไสยโสภณ. (2552). การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self- Directed Leaming : SDL). กศน: คัมภีร์ กศน.

วิภาพร หลักเพชร และภานุวัฒน์ ศรีไชยเลิศ. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองร่วมกับสื่อการสอนมัลติมีเดีย

ในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดจินดาราม. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม”

ครั้งที่ 5 (4-5 มีนาคม 2562), 7 หน้า, 1390-1396. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สราลี สีใจดี. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบนำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อรอนงค์ เวชจันทร์. (2554). การเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์. ค้นเมื่อ กรกฎาคม 30, 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/380126