การพัฒนาสารสกัดจากพืชเพื่อการควบคุมวัชพืชหลังงอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาสารสกัดจากพืชเพื่อการควบคุมวัชพืชหลังงอก โดยการทดสอบชนิดของสารสกัดที่ควบคุมหญ้ายาง (Euphorbia heterophylla L.) วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี ได้แก่ การใช้สารสกัดด้วยน้ำจากใบวัชพืชแห้ง 5 ชนิด ดังนี้ สาบเสือ (Chromolaena odorata (L.) R.M.King & H.Rob.) กะเพราผี (Hyptis suaveolens (L.) Poit.) หญ้าสาบ (Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.) หญ้าละออง (Vernonia cinerea (L.) Less.) และผักเสี้ยนผี (Cleome viscosa L.) ที่มีอัตราส่วน 1:2 (ใบวัชพืชแห้ง : น้ำกลั่น เท่ากับ 1กรัมต่อน้ำ 2 มิลลิลิตร) เปรียบเทียบกับการไม่ใช้สารสกัด พบว่า การใช้สารสกัดใบหญ้าสาบในอัตราส่วน 1:2 ทำให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของหญ้ายาง และความสูงของหญ้ายางเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการไม่ใช้สารสกัด และให้ประสิทธิภาพการควบคุมหญ้ายางได้ดีกว่าการไม่ใช้สารสกัด
ส่วนการทดสอบหาอัตราส่วนของสารสกัดใบหญ้าสาบที่เหมาะสมในการควบคุมหญ้ายาง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี ได้แก่ การใช้อัตราส่วนของสารสกัดใบหญ้าสาบเป็น 1:3 และ 1:4 เปรียบเทียบกับการใช้สารสกัดใบหญ้าสาบที่มีอัตราส่วน 1:2 และการไม่ใช้สารสกัด พบว่าการใช้สารสกัดใบหญ้าสาบที่มีอัตราส่วน 1:2 และ 1:3 ทำให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของหญ้ายาง และความสูงของหญ้ายางเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการไม่ใช้สารสกัด และมีประสิทธิภาพในการควบคุมหญ้ายางได้ดีกว่าการไม่ใช้สารสกัด ดังนั้นหญ้าสาบจึงเป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำมาทำสารสกัดด้วยน้ำจากพืชสำหรับควบคุมหญ้ายางโดยใช้อัตราส่วน 1:3
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มวิจัยวัชพืช. (2555). คำแนะนำการควบคุมวัชพืชและการใช้สารกำจัดวัชพืช ปี 2554. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1).
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย : กรุงเทพฯ.
จรรยา มณีโชติ วนิดา ธารถวิล สุพัตรา ชาวกงจักร ยุรวรรณ อนันตนมณี และสิริชัย สาธุวิจารณ์. (2554). สถานการณ์การระบาดและการจัดการวัชพืช
ต้านทานสารกําจัดวัชพืชไกลโฟเสท. รายงานผลงานวิจัย ประจำปี 2554 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร. 953 – 962.
จุฑามาศ ศุภพันธ์ และวีระเกียรติ ทรัพย์มี. (2557). ผลของสารสกัดจากวัชพืชบางชนิดต่อการงอกและการแบ่งเซลล์ของข้าววัชพืช. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร,
(2 พิเศษ), 185-188.
เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์ และกมลภรณ์ บุญถาวร. (2559). ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากสาบเสือต่อพืชทดสอบและการใช้ต้นคลุกดิน
เพื่อควบคุมวัชพืชในนาข้าว. วารสารวิชาการเกษตร 34(3), 244-252.
ธมลวรรณ เทพคุณ มนัชญา พิมศรี และสุพรรณิกา อินต๊ะนนท์. (2562). สารประกอบฟีนอลิกและผลอัลลีโลพาที
ของสาบม่วงคลุกดินต่อการงอกและการเจริญเติบโตของพืช. แก่นเกษตร, 47(ฉบับพิเศษ 1), 73-78.
ธีรารัตน์ แช่มชัยพร ธีรวัฒน์ พลายระหาร และสุภาพร สอนอินต๊ะ. (2560). ผลของสารสกัดจากต้นหมอน้อย (Vernonia cinerea(L.) Less) ที่มีต่อการแบ่งเซลล์
แบบไมโทซีสของรากหอม และการเจริญเติบโตของวัชพืช
บางชนิด. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(2), 398-407.
ธัญชนก จงรักไทย ศิริพร ซึงสนธิพร และกาญจนา พฤกษพันธ์. (2556). สัณฐานวิทยาของเมล็ดวัชพืชสกุลน้ำนมราชสีห์ Euphorbia. รายงานผลงานวิจัย
ประจำ ปี 2556 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร. 2106 – 2120.
บุญรอด ชาติยานนท์ เฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ และสมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2557). ผลของสารสกัดด้วยน้ำจากใบพืชวงศ์กะเพราบางชนิดต่อการงอกของเมล็ด
และการเจริญเติบโตของต้นกล้าหญ้าขจรจบดอกเหลือง (Pennisetum setosum L.). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(3), 121-132.
สิริชัย สาธุวิจารณ์. (2560). สถานการณ์ความต้านทานสารกำจัดวัชพืชของวัชพืชในแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญและการจัดการ. รายงานผลงานวิจัย
ประจำปี 2560 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร. 1215 – 1224.
เสน่ห์ เครือแก้ว อำนาจ ชินเชษฐ เฉลียว ดิษฐสันเทียะ สมพงษ์ ดิษฐสันเทียะ และอทิญญา ภมรจันทร์. (2537). การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเมื่อ
ปลูกร่วมกับถั่วเขียว และมีการแข่งขันกับหญ้ายางในสภาพไร่และฝนตกน้อย. วารสารวิชาการเกษตร, 12(3), 203-212.
สุขุมาลย์ เลิศมงคล. (2558). ผลทางอัลลิโลพาธิกของผักเสี้ยนดอกม่วงต้นสดและต้นแห้งต่อการงอกและการ เจริญเติบโตของหญ้าข้าวนกและผักโขมหนาม.
วารสารวิจัย, 8(1), 1-6.
สุชาดา สานุรัตน์. (มปป.). Allelopathy : อีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมวัชพืช. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 26, 2564, จาก https://dspace.bru.ac.th/xmlui
/bitstream/handle/123456789/ 3998/%E0% B8%9A% E0% B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8% A1%
Allelopathy%20-%E0%B8% AA%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8% 94%E0%B8%B2.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
สุธาสินี อั้งสูงเนิน. (2558). ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,
(1), 50-63.
สุรเชษฐ พัฒใส. (2554). ผลทางอัลลีโลพาทีจากหญ้าสาบต่อการงอก และการเจริญเติบโตของพืชปลูกบางชนิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2559 – 2563. ค้นเมื่อ มกราคม 4, 2564
จาก http://www.oae.go.th/view/1/% E0%B8%9B% E0%B8%B1% E0% B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81% E0%B8%B2%E0%B8%A3% E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95/TH-TH.
อินทิรา ขูดแก้ว กนกรัตน์ บุญรักษา และปรียานุช สำลี. (2559). ผลของสารสกัดหยาบจากไมยราบและหญ้าขนต่อการงอกและการเติบโตของต้อยติ่ง.
แก่นเกษตร, 44 (ฉบับพิเศษ 1), 777-782.
อัณศยา พรมมา ศิริพร ซึงสนธิพร ธัญชนก จงรักไทย และเอกรัตน์ ธนูทอง. (2560). ประสิทธิภาพสารสกัดพลู (Piper betle L.) เพื่อควบคุมวัชพืช.
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2560 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร. 929-943.