ความต้องการในการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในอนาคต

Main Article Content

อภิชาติ สุขอร่าม
ธวัชชัย ติสี
จุฬาลักษณ์ รักพงษ์
ผณินทร์ มาคสิรีรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความต้องการในการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตภาคเหนือ จำนวน 353 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่  แบบสอบถามความต้องการของการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในอนาคต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


        ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการในการบริหารจัดการหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏในอนาคต มีดังนี้ 1) ด้านปรัชญาของหลักสูตรต้องการให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ในศาสตร์ทางด้านสังคมศึกษา มีความคิดอย่างอิสระบนพื้นฐานของความถูกต้องดีงาม  เคารพกฎเกณฑ์ของสังคมและกฎหมาย เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่ดี 2) ด้านวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา มคอ.1 พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถด้าน  TPACK 3) ด้านโครงสร้างของหลักสูตร ต้องการให้มีความยืดหยุ่น ประกอบด้วย  กลุ่มวิชาที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับสังคมโลกปัจจุบันและศตวรรษที่ 21  มีการบูรณาการณ์ความรู้ความสามารถทักษะ การผสมผสานการใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีกับวิธีสอนสัมพันธ์กับ เนื้อหา( TPACK ) 4) ด้านนโยบายและสิ่งสนับสนุน ต้องการให้มีงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ รัฐบาลมีนโยบายที่แน่นอน ผลิตครูเป็นระบบปิด จำกัดจำนวนรับ และมีการสร้างแรงจูงใจให้คนดีคนเก่งเลือกเรียนครู 5) ด้านหลักสูตร  ต้องการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของครุสภา  สกอ. และ มคอ.1 มีหลักสูตรออนไลน์ 6) ด้านคณาจารย์ ต้องการอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ แม่นยำในศาสตร์ทางสังคมศึกษา มีความสามารถจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์  7) ด้านนักศึกษา ต้องการให้มีการคัดเลือกนักศึกษาผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีกรรมการคัดเลือกมาจากหลายส่วน 8) ด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  ต้องการให้มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ผ่านการรับรองการประเมินคุณภาพ และมีระบบการบริหารการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). อุดมคติวิทยาหลักสูตรสังคมศึกษาเพื่อปวงชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2544). ภาวะวิกฤติและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เพื่อปฏิรูปการศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติ

ระยะที่ 9-10 (พ.ศ. 2545 - 2554). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ศักดิ์ชาย เพชรช่วย. (2551). อนาคตภาพการผลิตครูของสถาบันอุดมศึกษาไทย. หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์และมาตรการการปฏิรูประบบครุศึกษาของประเทศ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตการพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adler, Susan A. (1991). "The Education of Social Studies Teachers." In Handbook of Research on Social Studies Teaching and Learning,

ed. James Shaver, 210–221. New York: Macmillan.