การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง ไมโครบิทเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองปากโลง

Main Article Content

ปถมาภรณ์ ไทยโพธิ์ศรี
ศรีวรรณ ประทุมเกตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด เรื่อง  ไมโครบิทเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองปากโลง 2) เพื่อประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิต 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองปากโลง ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนอีเลิร์นนิง แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าสถิติ (Dependent t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอีเลิร์นนิง ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 3 ตอน ได้แก่ 1.1) รู้จักกับ Micro:bit 1.2) การเขียนโปรแกรมควบคุม Micro:bit และ 1.3) การสร้างผลงานด้วย Micro:bit 2) ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพบทเรียนอีเลิร์นนิง พบว่าด้านเนื้อหามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x=4.63, S.D.=0.41) และด้านเทคนิคการผลิตมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x=4.69, S.D.=0.44) 3) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจหลังเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดอยู่ในระดับมากที่สุด (x=4.76, S.D.=0.47)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580).

ค้นเมื่อ เมษายน 7, 2563, จาก https://www.etda.or.th/content_files/2/files /05_Thailand_Digital_Plan.pdf.

จันทรา ตันติพงศานุรักษ์ และสุขเกษม ปิดตานะ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

นพดล ผู้มีจรรยา และพรนภา อินทำ. (2563). การพัฒนาบทเรียนเอ็มเลิร์นนิงร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ สำหรับชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลกรับใหญ่. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2), 75-89.

นวัฒธนโชติ อัครสำราญวงศ์ สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง งานธุรกิจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนลำบุหรี่พวง สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(3), 29-40.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภานุมาศ กองพันธ์ และสวียา สุรมณี. (2560). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 (หน้า 1-7). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุพจน์ ศรีนุตพงษ์. (2562). CODING กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การศึกษา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Adewale Owodunni Saka. (2020). Learning to Write Programs using Think-Pair-Share Programming Strategy: What are the Students'

Perceptions and Experiences? Journal of Educational Sciences, 4(4), 705-717.

Azlina, N. (2010). CETLs: Supporting Collaborative Activities Among Students and Teachers Through the Use of Think-Pair-Share

Techniques. International Journal of Computer Science Issues, 7(5), 18-29.

Choirul Abidin Siti Maghfirotun Amin and Raden Sulaiman. (2018). The Effect of Think-Pair-Share Learning with Contextual Approach on

Junior High School Students' Mathematics Problem Solving Ability. Advances in Intelligent Systems Research (AISR), 157, 31-34.

Kothiyal, A., Majumdar, R., Murthy, S., & Iyer, S. (2013). Effect of Think-Pair-Share in a Large CS1 Class: 83% Sustained Engagement.

Proceedings of the ninth annual international ACM conference on International computing education research (pp. 137-144).

New York: Association for Computing Machinery.

Kothiyal, A., Murthy, S., and Iyer, S. (2014). Think-pair-share in a large CS1 class: does learning really happen? Proceedings of the 2014

conference on Innovation & technology in computer science education (ITiCSE '14) (pp. 51–56). New York: Association for

Computing Machinery.

Rongbutsri, N., Yuan, F., Huang, J. J., Wang, W., and Zhang, F. (2018). E-Learning Providing Mobility in Learning Chinese as a Foreign

Language in Thailand. 2018 Global Wireless Summit (GWS), (pp. 55-58).

Schweitzer, D., Boleng, J., and Scharff, L. (2011). Interactive tools in the graphics classroom. Proceedings of the 16th annual joint

conference on Innovation and technology in computer science education (ITiCSE '11) (pp. 113–117). New York: Association for

Computing Machinery.

Zahedi, M. H., and Dehghan, Z. (2019). Effective E-learning utilizing Internet of Things. 2019 13th Iranian and 7th National Conference

on e-Learning and e-Teaching (ICeLeT), (pp. 1-6).