การจัดทำคู่มือภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อจัดทำคู่มือภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ภาษาจีนของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการศึกษาด้วยตนเองจากคู่มือที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังจากการใช้คู่มือภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 60 คน ซึ่งไม่เคยเรียนภาษาจีนมาก่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน แบบสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำเนื้อหาในคู่มือ แบบประเมินประสิทธิภาพคู่มือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังศึกษาคู่มือ และแบบประเมินความพึงพอใจหลังจากการใช้คู่มือ โดยใช้ค่า คอมพิวเตอร์ และใช้สถิติ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านภาษาจีนเพิ่มขึ้นและสื่อสารภาษาจีนกับนักท่องเที่ยวชาวจีนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถกล่าวต้อนรับ แนะนำสินค้า ลักษณะสินค้า บอกราคาสินค้าเป็นภาษาจีนได้อย่างถูกต้อง 2) กลุ่มตัวอย่างสามารถพัฒนาความรู้ ฝึกฝน ทบทวน จดจำคำศัพท์ และประโยคภาษาจีนได้อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มีอุปสรรคเรื่องสถานที่และเวลา ส่งผลให้มีการพัฒนาภาษาจีนได้อย่างรวดเร็วและมีผลผลสัมฤทธิ์หลังศึกษาคู่มืออยู่ในระดับสูงกว่าก่อนศึกษาคู่มือ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจหลังจากการใช้คู่มือภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี มีผลความพึงพอใจมากที่สุดในภาพรวมของการจัดทำคู่มือ รองลงมาคือ มีความพึงพอใจกับคู่มือเนื่องจากเหมาะสมกับการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีความพึงพอใจเนื่องจากเพิ่มความสะดวก ความเข้าใจในการสื่อสารกับลูกค้าชาวจีน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการเพิ่มศักยภาพด้านภาษาจีนให้กับผู้ประกอบการร้านค้า สามารถช่วยเพิ่มรายได้และเพิ่มคุณค่าของสินค้าในชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562) .สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2561 ค้นเมื่อ สิงหาคม 23,2562.
จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=531.
คีรีบูน จงวุฒิเวศย์และมาเรียม นิลพันธุ์. (2542).รายงานการวิจัยและจัดทำคู่มือการปฏิบัติ งานอาสาสมัครท้องถิ่น
ในการดูแลและรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มส.). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จันทนา บรรจงดิษฐ์, สมาน เอกพิมพ์ และพุทธารัตน์ ทะสา. (2558). เรื่องการพัฒนาความสามารถภาษาจีน
เพื่อการสื่อสารโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 (หน้า 65-73). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จิตรลดา รามพันธุ์ และ สุทัศน์ นาคจั่น. (2550). การพัฒนาคู่มือการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหารและเครื่องดื่มบทแคปพลิเคชั่นเฟสบุ๊ค
สำหรับนักศึกษาสาขางานโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ทรงฤทธิ์ ฉิมโหมด. (2558). การพัฒนาคู่มือการฝึกอบรมเสริมทักษะการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับเยาวชนที่รับจ้างทั่วไปบริเวณชายหาดชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี พุทธศักราช 2557. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 17(2), 17-32.
นุดี รุ่งสว่าง. (2543). การพัฒนาคู่มือการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียนสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมิต สัชฌุกร. (2542). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สายธาร.
แสงดาว ถิ่นหารวงษ์. (2561). การพัฒนาคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรมอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี.เพชรบุรี :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
พ.ศ. 2560-2564. ค้นเมื่อ มกราคม 4, 2561,
จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue.
อัจฉรา สมบัตินันทนา. (2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย.
สารนิพนธ์ ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.