พฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง PURCHASING BEHAVIOR OF SECOND-HAND BRANDED BAGS

Main Article Content

Panatda Kanka
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง ประชากรในการศึกษาคือผู้ที่เคยซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test, (One-way ANOVA), Chi-square และ Multiple Regression Analysis


ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วงอายุ 21 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 – 35,000 บาท พฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสองส่วนใหญ่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสองแบบสะพายข้าง แบรนด์ Louis Vuitton ซื้อเพราะราคาถูกกว่าของใหม่ในรุ่นเดียวกัน ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ซื้อในวันเกิดตนเอง คู่รัก คนในครอบครัว ทางออนไลน์ผ่านแอพพิเคชั่น Instagram ชำระเงินด้วยการโอนผ่านแอพพิเคชั่นธนาคาร ราคาเฉลี่ยที่ซื้อต่อสองปีอยู่ระหว่าง 25,000-50,000 โดยเฉลี่ยซื้อปีละ 1.7 ครั้ง มูลค่าราคาที่ซื้อเฉลี่ยครั้งละ 32,373 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมความสำคัญอยู่ในระดับมาก  ผลการทดสอบสมมติฐานข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง ที่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์วรา ศิริผ่อง และกาญณ์ระวี อนันตอัครกุล. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกระเป๋าถือสตรี

แบรนด์เนมมือสองของผู้บริโภคสตรีในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6 (2),

-111.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์ปัญชา. (2560). การใช้SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่28). กรุงเทพฯ:

สามลดา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:

สามลดา.

ชัยณรงค์ พิพิธวีรนันท์. (2559). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เลือกใช้

บริการที่พักประเภทโฮสเทล ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2559). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋า และรองเท้า

สุภาพสตรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บีเจมส์. (2564). BEJAME Thailand แบรนด์เนม…วิกฤติทางใจ จากค่านิยมทางวัตถุ. ค้นเมื่อ มกราคม 15,

, จาก http://www.bejame.com/article/858.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยนุช เอกปรีชาชาญ. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยในการซื้อสินค้าประเภทกระเป๋าแฟชั่นสตรีผ่านเครือข่าย

สังคมออนไลน์ประเภท Facebook และ Instagram ของประชากรเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร.

สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรณิศา ยิ้มขลิบ. (2560). พฤติกรรมการซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่.

สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รพีภรณ์ นนทแก้ว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า ชาร์ลส แอนด์ คีธ และ ลินน์ ของผู้บริโภค

ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วินิตรัตน์ อินต๊ะวิยะ. (2560). แผนธุรกิจสินค้าแบรนด์เนมมือสอง แบรนด์เนมซุปเปอร์เกิร์ล. สารนิพนธ์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรกร จันทราภรณ์. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ Gaming gear. สารนิพนธ์

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกุุณา กองชัย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อกระเป๋าของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณทิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

Sanit Rachata. (2563). เศรษฐกิจแย่แต่ยังอยากมีสไตล์กระแสแบรนด์เนมมือสองได้รับความนิยมมากขึ้นในยุค

Covid-19. ค้นเมื่อ มกราคม 10, 2564, จาก https://brandinside.asia/2nd-hand-brand-name-sales-surge-in-2020/.

SHANE ALLEN. (2020). ข้อสำคัญก่อนเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง. ค้นเมื่อ มกราคม 10, 2564, จาก

https://covetarlington.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B3%

E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%

B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%

E0%B8%AD%E0%B8%81/.

SME Update. (2020). อย่ามองข้าม! ตลาดแบรนด์เนมมือสองกระแสแรง. ค้นเมื่อ มกราคม 10, 2564,

จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/second-hand-brand-market-online-shopping.