การจัดการห่วงโซ่อุปทานอ้อย การจัดการห่วงโซ่อุปทานอ้อยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการแข่งขันในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพทั่วไปของห่วงโซ่อุปทานอ้อยในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการการจัดการห่วงโซ่อุปทานอ้อยในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีที่สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมห่วงโซ่อุปทานอ้อยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการเก็บรวบรวมจากข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เอกสาร วารสารที่เกี่ยวข้อง แบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมห่วงโซ่อุปทานอ้อย ถือเป็นกระบวนการการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งสายการผลิต ตั้งแต่ การวางแผนกิจกรรม การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดส่ง และการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้า โดยเป็นการจัดการแบบบูรณาการทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ นำมาสู่ผลตอบแทนสูงสุด โดยมีความเชื่อมโยงกับความสามารถในการแข่งขันและผลการดำเนินงานขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ กิจกรรมห่วงโซ่อุปทานอ้อย ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมุ่งเน้นความเชื่อมโดยทางด้านความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีต่อกัน ไปสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยเน้น ในด้านความไว้วางใจ การสื่อสาร การสร้างคุณค่าร่วม การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ร่วมกัน นำมาสู่แนวทางการเพิ่มผลผลิตอ้อย และการเพิ่มคุณภาพของอ้อย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยณรงค์ ไผ่รุ่ง. (2552). ผลกระทบของการจัดการความร่วมมือและคุณภาพสารสนเทศที่มีต่อประสิทธิผล
ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การจัดการเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Langley, A., Smallman, C., T., Soukas, H. & Van de Ven, A. (2009). Call for papers: Special Research
Forum on Process Studies of Change in Organization and Man-agement.
Academy of Management Journal, 52 (6), 29–63
La Londe, B.J. & Masters, J.M. (1994). Emerging Logistics Strategies: Blueprints for the Next Century.
International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 24 (7), 35-47.
https://doi.org/10.1108/09600039410070975.
Lee, C.W., Kwon, I.G. & Severance, D. (2007). Relationship between supply chain performance and
degree of linkage among supplier, internal integration, and customer. Supply Chain
Management: An International Journal, 12(6), 444-452.
Narasimhan, R. & Kim, S.W. (2002). Effect of supply chain integration on the relationship between
diversification and performance: evidence from Japanese and Korean firms.
Journal of Operations Management, 20, 303–323.
Photis M. Panayides & So.Meko. (2005). Logistics Service Provider-client Relationships.
Dissertation Abstracts International, E41, 179-200.
Watt, C.A. & Hahn. (2006). Supplier Development Programs: An Empirical Analysis. Journal of
Supply Chain Management, 29(2), 10-17.