ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับชาวมุสลิมของโรงแรมในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ปัญญา พานะกิจ

บทคัดย่อ

ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบริการที่รองรับชาวมุสลิมของโรงแรมในจังหวัดกาญจนบุรีและศึกษาช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้เพื่อประเมินความพึงพอใจ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมที่เดินทางมาพักค้างคืนในจังหวัดกาญจนบุรี อย่างน้อย 1 คืน โดยไม่เจาะจงระดับโรงแรมหรือประเภทโรงแรม  จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความพึงพอใจในการบริการเพื่อหาช่องว่างของคุณภาพบริการระหว่างความคาดหวัง (E) และการรับรู้ (P) คำนวณโดยใช้สูตร (P-E)
ผลจากการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมมีความคาดหวังต่อการบริการอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีความคาดหวังด้านความเอาใจใส่ลูกค้ามากที่สุด เรื่องพนักงานแสดงความเต็มใจในการให้บริการ รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ เรื่อง ฝักบัวและสายชำระภายในห้องน้ำ การรับรู้ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับน้อย พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมมีการรับรู้ด้านความเอาใจใส่ลูกค้ามากที่สุด ในเรื่องพนักงานให้บริการอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือแบ่งแยกในเชิงอคติ รองลงมาคือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ เรื่อง ภายในห้องน้ำมีฝักบัว /สายชำระเช่นเดียวกับความคาดหวัง โดยผลต่างของช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้มีค่าเป็นลบ คือ - 0.87 แปลผลได้ว่ามีแนวโน้มที่จะไม่พึงพอใจในบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิติการท่องเที่ยวปี 2560. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 15, 2562

จาก https://www.mots.go.th.

ชุลีวรรณ ปราณีธรรม, ณิษา จารุสิริชัย และเอกราช เหมาะประมาณ. (2562). พฤติกรรมการเลือกที่พักแรม

ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8(1), 91.

ธนินทร์ สังข์ดวง และจิระนาถ รุ่งช่วง. (2560). การรับรู้ระดับการให้บริการของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการ

การท่องเที่ยวแบบฮาลาล ในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต .วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี,13 (1),143.

ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์. (2561). การบริหารจัดการโรงแรมฮาลาลไทย กรณีศึกษาโรงแรมในจังหวัดปัตตานี.

วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 13(2), 66-77.

พรศิริ บินนาราวี. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยว

ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

รายงานสำรวจการประกอบกิจการโรงแรมและเกสต์เฮาส์ พ.ศ. 2559 , สำนักงานสถิติแห่งชาติ : กระทรวงดิจิตัล

เพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักข่าวอะลามี่. (2560). นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับ มิถุนายน 2560.

อภิสรา กวางคีรี. (2561). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อคุณภาพบริการ :

กรณีศึกษาเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ระดับ 3 ดาวและ 4 ดาว ในเขตพญาไท จังหวัดกรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.