นวัตกรรมการตลาดออนไลน์เพื่พานะกิจอสร้างรายได้ของกลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการรูปแบบการตลาดออนไลน์ เพื่อพัฒนาระบบการตลาดออนไลน์ เพื่อศึกษากระบวนการการยอมรับและประเมินสภาพการยอมรับนวัตกรรมการตลาดออนไลน์ และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบและแนวทางสร้างรายได้ด้วยการตลาดออนไลน์ ศึกษาจากผู้นำกลุ่มสตรีแม่บ้าน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากข้อมูลที่ได้ในแต่ละกิจกรรมด้วยการจำแนก จัดหมวดหมู่ หาความเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการตลาดออนไลน์ที่ต้องการ คือ เพจ มีการพัฒนาระบบการตลาดออนไลน์ ด้วยการใช้กรอบแนวคิดในการใช้เพจและขายสินค้าคือ “โพสต์ เชิญ แชร์” มีการใช้ข้อความ ที่บ่งบอกถึงความเป็นชุมชนบนภาพสินค้ามีการเขียนเนื้อหาสินค้าด้วยการใช้สัญลักษณ์ “#” หน้าข้อความเพื่อสร้างการติดตามและจดจำ มีการเล่าเรื่องราวสินค้าโดยใช้การบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา ใช้การสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างตราสินค้ากับลูกค้า ใช้การบอกสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ ผลจากการทดลองทำการตลาดออนไลน์ พบว่า กลุ่มสตรีแม่บ้านมีกระบวนการยอมรับนวัตกรรมทั้ง 5 ขั้นตอน คือขั้นสนใจ ขั้นประเมิน ขั้นทดลอง และขั้นยอมรับปฏิบัติ แต่การตัดสินใจยอมรับยังไม่ถึงขั้นยืนยัน มีการประเมินสภาพการยอมรับนวัตกรรมคุณลักษณะด้านทดลองใช้ได้ด้านสังเกตได้และด้านความยุ่งยากซับซ้อน ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ ประเมินในระดับมาก และด้านการเข้ากันได้ประเมินในระดับปานกลาง แนวทางที่สำคัญในการใช้นวัตกรรมการตลาดออนไลน์เพจสร้างรายได้ คือ การพัฒนาทักษะการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และการมีที่ปรึกษา
Article Details
References
กันต์ อินทุวงค์. (2558). การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการยอมรับนวัตกรรม. วารสารวิชาการราชภัฏอุตรดิตถ์,
(2), 1-10.
กาญนา แก้วเทพ นันทกา สุธรรมประเสริฐ และเอกธิดา เสริมทอง. (2554). ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร:
เด็กสตรี และผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ณภัทร ญาโณภาส. (2561). นวัตกรรมการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี,
(2), 148-157.
ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และ ประภัสสร วรรณสถิต. (2551). DigiMarketing เปิดโลกนิวมีเดียและการตลาดดิจิทัล.
แปลจาก DigiMarketing. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
ไพศาล กาญจนวงศ์ และ อรจนา จันทรประยูร. (2558). การประยุกต์ใช้งานเว็บบล็อกเพื่อส่งเสริมการตลาด
อิเล็กทรอนิกส์การท่องเที่ยว กรณีศึกษาธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 4(1), 4-15.
สุภพงษ์ สุขชาวนา และกาญจนา มีศิลปะวิกภัย. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดและการสื่อสารการตลาดที่มีผล
ต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจถ่ายภาพของประชาชนภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 6(2), 71-77.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2561). เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61
คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2561, จาก https://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html
เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม อุ่นเรือน เล็กน้อย. (2560). การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมงานวิจัยสู่การนำไปใช้ในพื้นที่.
วารสารสิ่งแวดล้อม, 21(3), 19-28.
Everett M. Rogers & F. Floyd Shoemaker. (1971). Communication of Innovations; A Cross-
Cultural Approach. New York: The Free Press.
Mark Bauerlein. (2011). The Digital Divide. United States of America: Penguin Group.