การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุของเทศบาลนครสมุทรสาครและศึกษาการสร้างรูปแบบที่เป็นแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร ทำการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงอนาคตหรืออนาคตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ เช่น ผู้บริหารเทศบาลนครสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาคร จำนวน 17 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม และพิจารณาความสอดคล้องของข้อมูลด้วยการคำนวณค่าพิสัยระหว่างควอไทล์รวมทั้งหาค่าความสมบรูณ์ของผลต่างระหว่างฐานนิยมและมัธยฐาน ผลการวิจัยพบว่า ด้านที่อยู่อาศัยมีความต้องการให้มีสภาพชุมชนที่มีความปลอดภัยจากอาชญากรรม ส่วนด้านการมีงานทำและรายได้ต้องการมีอาชีพเสริมและเบี้ยผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ด้านบริการสังคมทั่วไปความต้องการอาสาสมัครในชุมชนดูแลช่วยเหลือที่บ้าน เช่น การทำความสะอาด หรือช่วยกิจกรรมอื่น ๆ ด้านการออกกำลังกายและการพักผ่อนนั้นมีการออกกำลังกายเสมอ ด้านโภชนาการนั้นมีพฤติกรรมมักเลือกรับประทานอาหารตามใจตนเองด้านสุขภาพและการสาธารณสุขส่วนใหญ่ต้องการคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ และแนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในอนาคตคือ ต้องการให้มีการจัดตั้งศูนย์ผู้สูงอายุกระจายหลาย ๆ แห่ง
Article Details
References
กฤษณ์ภูริพงษ์, สุพจน์ อินทร์หว่าง. (2558). แนวทางการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง.
วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 1(2), 1-17.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2558). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.
ณัฎฐ์ชยธร เดชสิทธิ์บุลพร. (2557). คุณภาพชีวิตและความต้องการสนับสนุนสวัสดิการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ
ในชุมชนสามตำบล จังหวัดนครปฐม. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะ
จระเข้น้อย อำเภอบางเสาธงจังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารทั่วไป คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยะดา ภัคดีอำนาจ, พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2557). แนวทางการจัดการสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(2), 121-151.
ยุทธนา ชมวงศ์. (2561). รูปแบบนวัตกรรมการจัดการความขัดแย้งแบบสันติวิธีเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำในบึง
บอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน,
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:
นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. .
โรงพยาบาลเปาโล. (2562). ลูกหลานควรรู้อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ October 27, 2019, จาก:
https://www.paolophahol.com/th-TH/Article/Details/บทความ-กระดูกและข้อ/อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ
ศิริพร อริยพุทธรัตน์. (2562). 5 วิธีป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ October 27, 2019,
จาก:https //www.thebangkokinsight.com/219311.
สมพละ นะวะกะ. (2555). ความต้องการได้รับสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวลึก
จังหวัดกระบี่. ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์,
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการฯ. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์รูปแบบการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ
ที่มีภาระเลี้ยงดูบุตรหลาน. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. (2560). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ60ปีขึ้นไป)
ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;
สุวัฒน์อินทรประไพ, อมริน อินไข. (2557). การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลนาข่า
อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15.
Christian Aspalter. (2009). Different Worlds of WelfareCapitalism:. Discussion Paper No.80. July 2001.
Esping Andersen. (2000). The Three Worlds of Welfare Capitalism. Princeton: Princeton University
Press.
Gorman M. (1999). Development and the rights of order people. In: RandalJetlag. London: Earth
scan Publications.
Kavin Jackson M. (2019). Welfare Benefits for the Elderly. Retrieved October 27, 2019, from:
http// www.sapling.com/6702315/welfare-benefits-elderly.
Revilla, Melanie A. (2013). Choosing the Number of Categories in Agree-Disagree Scales.
Sociological Methods & Research.
Titmuss Richard M. (1958). Essay and”The Welfare State”. London: Place of Publication.