ATTITUDE AND BEHAVIOR OF USING BAAC A-MOBILE APPLICATION OF BANK FOR AGRICULTURE AND AGRICULTURAL COOPERATIVES’ CUSTOMERS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A – Mobile ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และระดับทัศนคติของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างลูกค้าของธนาคาร จำนวน 400 ตัวอย่าง ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ผลการศึกษาพฤติกรรมพบว่า วัตถุประสงค์หลักในการสมัครใช้บริการ เนื่องจาก สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา เพราะสามารถ ทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา ประเภทธุรกรรมที่ใช้บริการ คือ ตรวจสอบยอดคงเหลือทั้งเงินฝาก สินเชื่อ สลากออมทรัพย์ ผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ทวีโชค มูลค่าการทำธุรกรรมเฉลี่ยต่อครั้งต่ำกว่า 5,000 บาท ความถี่ในการใช้บริการ 1 – 2 ครั้งต่อเดือน ช่วงเวลาในการใช้บริการ คือ เวลา 12.00 – 17.59 น. บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการสมัครใช้บริการ คือ เจ้าหน้าที่ธนาคาร สาขาของธนาคารที่สมัครใช้บริการโดยส่วนใหญ่ คือ สาขาบ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี วิธีแก้ไขปัญหาในการใช้บริการ คือ ติดต่อสอบถามจากพนักงานประจำสาขาใกล้บ้าน
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ เพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ระยะเวลาในการใช้บริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A – Mobile 2) ระดับทัศนคติ ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A – Mobile
Article Details
References
จิวรัส อินทร์บำรุง. (2553). ส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง บมจ.
ธนาคารกรุงไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฑาภรณ์ ไร่วอน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งของธนาคารกรุงเทพ จำกัด
(มหาชน) กรณีศึกษาผู้ใช้บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนม์นิกานต์ อ้อวิจิตร. (2550). พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน). ภาคนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2561). ธ.ก.ส. เปิดตัว A-Mobile / QR Code ตอบโจทย์ไลฟ์
สไตล์ยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับสู่เกษตรกร 4.0. ค้นเมื่อ กันยายน 7, 2561, จาก https://www.baac.or.th.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). ธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ Mobile banking และ Internet
banking. ค้นเมื่อ กันยายน 15, 2561, จาก http://www2.bot.or.th.
นัฐพล รักษา. (2559). การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งของลูกค้าธนาคาร
กรุงเทพ สาขาเอ็กเชน ทาวเวอร์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC
Academic Day ครั้งที่ 2, 42-45. ค้นเมื่อ ตุลาคม 1, 2561, จาก http://eprints.utcc.ac.th/6008/1/.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2543). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
วรรณวิมล ชูศูนย์. (2551). ทัศนคติของลูกค้าต่อบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน) ในอำเภอเมืองราชบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิชาติ เทศสวัสดิ์วงศ์. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินบนมือถือของผู้บริโภค
ในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.