ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

Kittiya Ketthet
สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดและกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ


กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 94 คน ใน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 47 คนของโรงเรียนประจวบวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ (3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  ที่มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.48 – 0.63 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.38 – 0.60 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.60 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยปรากฏว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด สูงกว่าของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2540). เอกสารเสริมความรู้พื้นฐาน ระดับประถมศึกษา เรื่องทักษะการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ :

คุรุสภาลาดพร้าว.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

กุลศิริ โจมพรม. (2551). การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ตติมา ทิพย์จิดาชัยกุล. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ที่มีต่อ

ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทักษะ

กระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทนงศักดิ์ รัดอัน. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เสริมด้วยวิธีการแบบเปิด

ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการ

แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการสอน. กรุงเทพฯ : บูรพาศิลปะการพิมพ์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พัทธยากร บุสสยา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการ

แก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.

วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภิญญาปวีร์ แสงกล้า. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เรขาคณิตน่ารู้ โดยใช้วิธีการแบบเปิดเพื่อ

เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจคติต่อคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของญี่ปุ่น. ขอนแก่น :

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

_______. (2555). การพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และ

วิธีการแบบเปิด (Open Approach). ในการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการพัฒนาวิชาชีพครู

คณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)

ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 17-19 ตุลาคม พ.ศ.2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครศรีธรรมราช.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2561). การคิดเชิงความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในชั้นเรียน

ที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสารวิจัย มข. ฉบับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับธุรกิจและ

เศรษฐกิจ), 6(1), 46-56.

รอฮานี ปูตะ. (2561). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการศึกษาชั้นเรียนที่มีต่อ

ความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วนัญชนา เชิงดี. (2555). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดสำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา

หลักสูตรคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ทักษะ / กระบวนการ

ทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ส.เจริญการพิมพ์.

_______. (2555ก). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : 3-คิวมีเดีย.

_______. (2555ข). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมจิตร กำเหนิดผล. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์กับความคิด

สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผล

การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2555). การสื่อสารกลุ่มย่อยทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนภายใต้บริบทของการศึกษา

ชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริพร ทิพย์คง. (2551). เป้าหมายของการเรียนคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 53 (599-601), 16-17.

สิริพันธุ์ จันทราศรี. (2557). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยม

ศึกษาตอนปลายในชั้นเรียนที่สอนด้วยวิธีการแบบเปิด วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Polya, G. (1957). How to solve it: A new aspect of mathematical method (2nded.). New York :

Doubleday & Company. Health Association. Washington.