ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ของนิสิตสาขาพลศึกษา

Main Article Content

ลักษมี ฉิมวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด 19 ของนิสิตสาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตสาขาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 181 คน โดยการเปิดตารางเครซี่แอนมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนชั้นปี เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความวิตกกังวล โดยมีค่าความเที่ยงตรงและความปรนัยเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 59.70 เป็นเพศชาย ร้อยละ 40.30 เป็นเพศหญิง ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 25.20 ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 35.20 ชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 17.60 และชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 22 แยกเป็นรายวิชาทฤษฎี ร้อยละ 10.70 วิชาปฏิบัติ ร้อยละ 1.20 และทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ร้อยละ 88.10 โดยมีช่องทางการเรียนออนไลน์ อันดับแรกคือ Google classroom รองลงมา Zoom meeting Line Meet Hangout Facebook YouTube และอื่นๆ ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมความวิตกกังวลของนิสิตสาขาพลศึกษาเท่ากับ 4.03 (1.07) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านความวิตกกังวลของนิสิตสาขาพลศึกษา 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านเนื้อหารายวิชาเท่ากับ 4.40 (0.89) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านกิจกรรม/การบ้าน 4.12 (1.05) และด้านความสามารถในการเรียน 4.10 (1.05) อยู่ในระดับมาก และนิสิตชั้นปีที่ 2 มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.35 (0.73)


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2541). คู่มือคลายเครียด (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ดีไซน์คอนดักชั่น.

ข่าวเชียงใหม่. (2562). โรควิตกกังวลกับโรคซึมเศร้า. ค้นเมื่อ เมษายน 20, 2563,

จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/893934

ตฏิลา จำปาวัลย์. (2561). ความวิตกกังวลตามสถานการณ์. วารสารพุทธจิตวิทยา, 3(1), 13 - 20.

มีนนภา รักษ์หิรัญ. (2558). ความวิตกกังวลของนักศึกษากัมพูชาการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี. SDU Res. J, 11(3), 163-176.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ นุยภูเขียว. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา

ชั้นปีที่ 1 : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,

(28), 231-243.

ศิริพร จีรวัฒน์กุล. (2530). ครูกับการช่วยเหลือนักเรียนที่ตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช. วารสารแนะแนว,

(64), 21-29.

สิรินธร วัชรพืชผล และจงกล จันทร์เรือง. (2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ต

โดยเทคนิคการเรียนรู้แบบปรับเหมาะกับความสามารถของนักเรียน. การประชุมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ครั้งที่ 11.

สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2563). ถอดบทเรียนทั่วโลกรับมือ ‘โควิด 19’.ค้นเมื่อ เมษายน 20, 2563,

จาก https://www.infoquest.co.th/2020/11052.

อิศรัฏฐ์ รินไธสง. (2557). การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา. ค้นเมื่อ

เมษายน 20, 2563, จาก https://sites.google.com/site/stats2researchs/student-of-the-month/johndoe

Krejcie, R. V., and D. W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.”

Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.