การบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจการท่องเที่ยวและกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจการท่องเที่ยวและกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ มี 4 องค์ประกอบ คือ การจัดการความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ การจัดการความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ การจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน และการจัดการความเสี่ยงด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและกีฬาในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 292 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลลัพธ์จากการวิจัย พบว่า การบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ การจัดการความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและการจัดการความเสี่ยงด้านการตลาดผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจการท่องเที่ยวและกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในทางกลับกัน การจัดการความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (RR) และการจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน (FR) ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). คลังข้อมูลธุรกิจ. ค้นเมื่อ มิถุนายน 22, 2562, จาก http://www.dbd.go.th.
นฤนาถ เอี่ยมตระกูล. (2553). การบริหารความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานของฝ่ายก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรม
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นฤมล สะอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.
ปัญจพร ศรีชนาพันธ์. (2547). การบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่.
การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรตพร อาฒยะพันธ์. (2550). ผลกระทบของประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงที่มีต่อผลการดำเนินงาน
ของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี
และการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรกานต์ คนอยู่, คำนึง ทองเกตุ และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2558). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา
ระดับประถมศึกษาที่สอนแบบคละชั้นในเขตภาคเหนือตอนล่าง. Veridian E-Journal, Silpakorn
University, 8(1), 1320-1330.
วาสนา จรูญศรีโชติกำจร.(2550). ผลกระทบของประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ที่มีต่อความได้เปรียบทางการ
แข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุปราณี ทิพยนาสา. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยงที่มีต่อความสามารถในการ
แข่งขันของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aaker, David A., Kumar, V. and Day, George S. (2001). Marketing Research. New York:
John Wiley and Sons.
Armstrong, J. S. & Overton Terry S. (1977). Estimating non-response Bias in Mail Surveys.
Journal of Marketing Research, 14, 396-402.
Cronbach, L. (1974). Essentials of Psychological Testing 3rd Ed. New York: Harper and Row.
Gustavo, C & Branddy, R. (2002). The Development of a Measure of Prosocial Behaviors for Late
Adolescents. Journal of Youth and Adolescence, 31(1), 31-44.
Hair, J.F. and others. (2006). Multivariate data analysis. 6th ed. Upper Saddle River, N.J.:
Pearson Education Inc.
Jaccard, J., & Turrisi, R. (2003). Interaction effects in multiple regression. Sage university papers
series. Quantitative applications in the social sciences. Newbury Park: Sage
Publications.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-608.
Meulbroek, L.K. (2002). Integrated Risk Management for the Firm: A Senior Manager”s
Guide. Harvard Business School Soldiers Field Road Boston, MA.
Nunnally, J.C., & Bernstein.I, H. (1994). Psychometric theory (3thed.) New York: MC Graw-Hill.