ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

Main Article Content

วนัชพร เล่าฮะ
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  2) ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 3) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 250 ชุด เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานแบบ T - test, F – test (One - Way ANOVA), Correlation และ Multiple Regression Analysis


            ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ รายได้ประจำต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 บาท และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ปัจจัยความสุขในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านความรักในงาน ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับอยู่ในระดับความสำคัญมาก ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ด้านความเชื่อถือและการยอมรับในเป้าหมาย    ขององค์การ ความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อประโยชน์ขององค์การ และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกขององค์การ ในภาพรวมของความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับความสำคัญมาก ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล อายุ สถานภาพ เงินเดือน และอายุงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ไม่แตกต่างกัน ภาพรวมปัจจัยความสุขในการทำงาน   มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีระดับความสัมพันธ์สูงทิศทางเดียวกัน และพบว่าปัจจัยความสุขในการทำงาน ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านความรักในงาน ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการเป็นที่ยอมรับ มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรสร้างบรรยากาศในการทำงาน เพิ่มแรงจูงใจและขวัญกำลังใจในการทำงาน ลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น สร้างความตระหนักถึงความสำคัญบทบาทตนเองในองค์การและรับรู้เป้าหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย มีการชื่นชมชมเชยบุคลากรเพื่อเป็นแรงบันดาลใจกับบุคลากรในการทำงาน ควรมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของบุคลากรเพื่อจะได้งานที่มีประสิทธิภาพ และผู้บังคับบัญชา    ควรรับฟังปัญหาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้วยความเต็มใจเพื่อให้งานประสบความสำเร็จ การแสดงการยอมรับและเห็นคุณค่าของบุคลากรอย่างเท่าเทียมกันจะทำให้พวกเขามีกำลังใจในการทำงานร่วมกันและทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัณฐณัฏฐ์ ครุฑใจกล้า. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท
ส่งออกกล้วยไม้ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ :
ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทนา เสียงเจริญ. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน, ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กาจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธีรภัทร วาณิชพิทักษ์. (2555). การศึกษาความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัทร่วมเจริญพัฒนา จำกัด.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุขกรณีนักศึกษาภาคพิเศษ ระดับปริญญาโท
สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
และองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
เบญจวรรณ พัชรพงศ์พรรณ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์
เทนเม้นต์ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ,
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
Cowin, L. S., and Hengstberger-Sims, C.., (2006). New graduate nurse self-concept and
retention: A longitudinal survey. Journal of Nursing Administration, 43 (1), 59–70.
Gavin, J. H., and Mason, R. O. (2004). The Virtuous Organization: The Value of Happiness in the
Workplace. Organizational Dynamics, 33 (4), 379-392.
Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes, Arch Psychological. 25(140): 1 – 55.
Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive work place. Journal of Nursing Administration, 33 (5), 293-299
Steers, R.M. (1977). Organization Effectiveness. California: Goodyear Publishers Inc.
Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed.NewYork.Harper and Row
Publications. 727-728.
Tzeng, H.-M., (2002). The influence of nurses’ working motivation and job satisfaction on
intention to quit: an empirical investigation in Taiwan. International Journal of Nursing
Studies, 39, 867–878.
Warr, P. (2007). Work, happiness, and unhappiness. Mahwah, NJ, US: Lawrence Erlbaum
Associates Publishers.