สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

กิตติศักดิ์ พ่วงช่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี      ราชมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา 2) เปรียบเทียบความแตกต่างความคิดเห็นที่มีต่อสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาที่เรียนวิชาพลศึกษา ที่มีสังกัดต่างกัน 3) เสนอแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขสภาพและปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 108 คน และนักศึกษาที่เรียนวิชาพลศึกษา จำนวน 306 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ R.V.Krejcie & D.W.Morgan ที่ความคลาดเคลื่อน .05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและแนวทางแก้ไข โดยมีค่า IOC 0.95  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัย พบว่า สถานะภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นอาจารย์ผู้สอนที่สอนวิชาพลศึกษาและนักศึกษาที่เรียนวิชาพลศึกษา โดยรวม สภาพการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสม และมีปัญหาอยู่ในระดับมากในบางด้าน แนวทางแก้ไข ปรับปรุงหลักสูตรและการสอนให้มีความเหมาะสม อาจารย์ผู้สอนควรมีการสาธิตทักษะทางด้านกีฬาที่ชัดเจนและถูกต้อง การแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยและให้เหมาะสมกับกีฬาประเภทนั้นๆ ควรเพิ่มจำนวนวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ที่ใช้จัดการเรียนการสอนให้พอกับจำนวนผู้เรียน การวัดและประเมินผลควรมีเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
กรรวี บุญชัย. (2550). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการวัดและประเมินผลทางพลศึกษาขั้นสูง.
ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นันทวัน วงษ์ประเสริฐและรุ่งระวี สมะวรรธนะ. (2557). แนวทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาสำหรับเด็กที่มีความ
ต้องการพิเศษ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED) ,7 ,95-96
ณัฐฎา แสงคำ. (2552). จรรยาบรรณวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
ไพวัลย์ ตัณลาพุฒ. (2530). พลศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:
ฟอง เกิดแก้ว. (2550). การพลศึกษา.กรุงเทพมหานคร. พิทักษ์อักษร.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). ปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศักดิ์ พงศ์ลี้. (2550). สภาพและปัญหาการเรียนการสอนพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษา
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2547. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาพลศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Joyce, B, & Weil, M. (1996). Model of teaching. 5th ed. Boston : Allyn and Bacon.
Krejcie, R.V. & Morgan , D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and
Psychological Measurement.Vol30. pp.607-610.
Posner, G. J. (1992). Accommodation of a Scientific Conception: Toward a Theory of Conceptual
Change. pp. 253-270.