สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพลศึกษา “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

Main Article Content

อุทัย คงแจ่ม
พเยาว์ เนตรประชา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพลศึกษา “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพลศึกษา “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และประเภทของโรงเรียน และ 3) เสนอแนวทางการแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมพลศึกษา “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 400 คน คำนวณโดยใช้ตารางของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพลศึกษา “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีสภาพและปัญหาอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความคิดเห็น จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และประเภทของโรงเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระกับ .05 ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน  3) แนวทางการแก้ปัญหา คือ จัดโครงสร้างเวลาเรียน ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเอื้อต่อการจัดกิจกรรม สำรวจและจัดทำข้อมูลความถนัด ความสนใจ และความต้องการของนักเรียน แล้วจัดกิจกรรมให้สอดคล้องอย่างหลากหลาย ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะชีวิต และความมีน้ำใจนักกีฬา ลงมือปฏิบัติจริง เลือกและเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเอง เป็นทีม จัดสื่อและแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนให้เพียงพอ ปลอดภัย เหมาะสมกับวัย ควบคู่กับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยวิธีการอย่างหลากหลาย ครอบคลุมทั้งทฤษฏีและการปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล. (2558). เอกสารการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรม
“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. นครปฐม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.
กษิรา วาระรัมย์. (2556). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด
กรุงเทพมหานคร ที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


เกษอมร มิ่งขวัญ. (2555). สภาพและปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายการลดเวลาเรียนในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จุฑามาศ สุธาพจน์. (2558). แนวทางการบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชติยา มหาสินธ์. (2559, 2 มกราคม). คลื่นคิดคลื่นข่าว. มติชนออนไลน์. หน้า 1.
ธนาวรรณ รัมมะภาพ และมนตรี สามงามดี. (2558). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดกิจกรรมพลศึกษาในนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. (2558). เอกสารการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้”. นครปฐม : โรงเรียนอนุบาลนครปฐม.
ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการนิเทศ ติดตามและรายงานผล
การจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ศราวุฒิ ญาณะคำ. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้” ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและ
พัฒนาหลักสูตร. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
และพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
________. (2558). คู่มือบริหารจัดการเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.