ผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับประชาชน โดยสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับประชาชน โดยสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนทั่วไป ที่สมัครเข้ารับการอบรม 5 หลักสูตร หลักสูตรละ 40 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
- กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (60.00%) อายุระหว่าง 25-34 ปี (29.50%) และส่วนใหญ่อาชีพเกษตรกร (40.00%)
- ผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า หลังจากประชาชนเข้าโครงการอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 5 หลักสูตรของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 1) โครงการสุขภาพดีด้วยหลัก 4 อ.บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง 2) โครงการหมอวิถีบ้านๆ เพื่อการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) โครงการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) โครงการผู้นำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความมั่นคงใหม่แห่งชาติ และ 5) โครงการทฤษฎีบันได 9 ขั้น เพื่อความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน แล้วประชาชนมีพฤติกรรมหรือการปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.13) เพื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับพฤติกรรมหรือระดับปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ ด้านการมีคุณธรรม (ค่าเฉลี่ย 3.38) ด้านการมีภูมิคุ้มกัน (ค่าเฉลี่ย 3.36) ข้อที่มีระดับพฤติกรรมหรือระดับปฏิบัติมาก ได้แก่ ด้านความพอประมาณ (ค่าเฉลี่ย 3.07) ด้านความมีเหตุผล (ค่าเฉลี่ย 3.01) และ ด้านการมีความรู้ (ค่าเฉลี่ย 2.85)
- การเปรียบเทียบผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ ของประชาชน พบว่า ประชาชนมีระดับพฤติกรรมหรือระดับปฏิบัติด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ด้านการมีความรู้ และด้านการมีคุณธรรม และภาพรวม ทั้ง 5 ด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
บท
บทความวิจัย
References
เกษม วัฒนชัย. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา, 5 (2) ,
155-156.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ใจทิพย์ อุไพพานิช. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทัศนีย์ ม่วงจินดา. (2552) รายงานการวิจัยเรื่อง การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของ
ข้าราชการทหารกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เทิดศักดิ์ สุพันดี สุนันท์ สีพาย และสิริศักดิ์ อาจวิชัย. (2560). การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแหล่งเรียนรู้ตาม
แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง: กลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์”.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 6 (2), 89-98
นภาพรรณ วงค์มณี. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำแนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตของประชาชน: กรณีศึกษาชุมชนทรายทองคำ ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน
จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วลัยพรรณ จันทร์หอม. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
ของครูโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วาสิฏฐี มณีโชติ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของ
นายทหารชั้นประทวน สังกัดกองพันทหารราบช่างที่ 9. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาส์น.
สมศักดิ์ ตรงงาม. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ของประชาชนในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เอื้องทิพย์ เกตุกราย. (2551). รายงานการวิจัย การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของ
ประชาชน ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
155-156.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ใจทิพย์ อุไพพานิช. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทัศนีย์ ม่วงจินดา. (2552) รายงานการวิจัยเรื่อง การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของ
ข้าราชการทหารกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เทิดศักดิ์ สุพันดี สุนันท์ สีพาย และสิริศักดิ์ อาจวิชัย. (2560). การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแหล่งเรียนรู้ตาม
แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง: กลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์”.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 6 (2), 89-98
นภาพรรณ วงค์มณี. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำแนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตของประชาชน: กรณีศึกษาชุมชนทรายทองคำ ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน
จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วลัยพรรณ จันทร์หอม. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
ของครูโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วาสิฏฐี มณีโชติ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของ
นายทหารชั้นประทวน สังกัดกองพันทหารราบช่างที่ 9. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาส์น.
สมศักดิ์ ตรงงาม. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ของประชาชนในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เอื้องทิพย์ เกตุกราย. (2551). รายงานการวิจัย การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของ
ประชาชน ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.