การบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนของโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนของโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน (2) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการ และ (3) ตัวแบบแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการ ทั้งนี้ได้นำแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ หรือความเจริญก้าวหน้าด้านสังคมหรือส่วนรวม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านคุณธรรม และด้านคุณภาพชีวิต มาปรับใช้เป็นกรอบแนวคิดของการศึกษาครั้งนี้
ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้น การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามนั้นได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.90 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ที่ระดับ 0.89 ประชากร คือ ผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่มารับการตรวจรักษาของโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40,045 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,112 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 มีนาคม พ.ศ. 2561 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับมาคืนมาได้ 915 ชุด คิดเป็นร้อยละ 82.28 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,112 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดสโนว์บอลล์ และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทีละคน ๆ ละไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง
ผลการวิจัย
- ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ โรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานครนำเทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการประชาชนยังไม่เฉพาะเจาะจง ขาดความชัดเจน
- แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ โรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร ควรนำเทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการประชาชนยังไม่เฉพาะเจาะจง ขาดความชัดเจน และเต็มความสามารถขณะเดียวกัน โรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร ควรพัฒนาบุคลากรทุกระดับเพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการใช้ช่องทางการสื่อสารและเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วย
3. โรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร ควรนำตัวแบบแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนของโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนไปปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญของการปฏิบัติงาน และการนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยตัวแบบดังกล่าวเฉพาะที่สำคัญ 5 ด้าน เรียงลำดับตามความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) ด้านคุณธรรม (2) ด้านคุณภาพชีวิต สังคมหรือส่วนรวม (3) ด้านสิ่งแวดล้อม (4) ด้านเศรษฐกิจ และ (5) ด้านความเจริญก้าวหน้า
Article Details
References
กนก เรืองนาม. (2015). การศึกษาเปรียบเทียบการให้บริการระหว่างโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน. Journal of Nakhonratchasima College, 9, 64-75.
กนกพร ลีลาเทพินทร์ พัชญา มาลือศรี และปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2554). การประเมินระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลอง SERVQUAL. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 34,433-455.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : โฟร์เพซ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). ศักยภาพในการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยเพื่อให้บริการประชาชนของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการตามแนวคิด PANT-ITERMS. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 14, 108-121.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการยุคดิจิทัลที่มีผลต่อการให้บริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15 (2), 382
Atkinson, Rowland and Flint, John. (2001). Accessing Hidden and Hard-to-Reach Populations: Snowball Research Strategies. Social Research Update, Department of Sociology, University of Surrey, United Kingdom.
Baker, Susan. (2006). Sustainable Development. Wales: Routledge Publishing.
Best, J. W. & Kahn, J. V. (1995). Research in Education. Seventh Edition. New Delhi: Prentice-Hall of India.
Creswell, John W. and Plano Clark, Vicki L. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.
Department for Environment, Food and Rural Affairs (DEFRA). (2009). Sustainable Development Indicators in Your Pocket 2009. London: Defra Publications.
DuBrin, Andrew J. (2006). Essentials of Management. Mason, Ohio: Thomson Higher Education.
Everitt, Brian S. (1992). The Analysis of Contingency Tables. Second Edition, Boca Raton, Florida: Chapman and Hall/CRC.
Geurt Van de Kerk and A.R. Manuel. (2008). A Comprehensive Index for a Sustainable Society: The SSI: the Sustainable Society Index. Journal of Ecological Economics, 66, 228-242.
Goodman, Leo A. (1961). Snowball Sampling, Annals of Mathematical Statistics, 32, 148-170.
Kerlinger, Fred N. (2000). Foundations of Behavioral Research. Fourth Edition. California: Wadsworth, Thomson Learning.
Kerlinger, Fred N. and Lee, Howard B. (2000). Foundations of Behavioral Research. Fourth Edition. Wadsworth: Thomson Learning.
Likert, R. A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill. อ้างถึงใน Best, John W. and Kahn, James V. (2006). Research in Education. Tenth Edition. Boston: Pearsons Education.
Lucy, William H. Gilbert, Dennis and Birkhead, Gutherie S. (1977). Equity in Local Service Distribution, Public Management: The New Zealand Model. Auckland Oxford University Press.
Lynn. (2003). cited in Owen E. Hughes, Public Management and Administration: An Introduction. Third Edition. New York: Palgrave Macmillan.
Mirela-Cristina Voicu (2011). Using the Snowball method in Marketing Research on Hidden Populations. Challenges of the Knowledge Society, 1, 1341-1351.
Nastasi, Bonnie K. and Schensul, Stephen L. (2005). Contributions of Qualitative Research to the Validity of Intervention Research. Journal of School Psychology, 43,177-195.
Robbins, Stephen P. and Decenzo, David A. (2004). Essentials of Management: Essential Concepts and Applications. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education, Inc.
United Nation, The World Commission on Environment and Development (WCED). (1987). Our Common Future. New York: Oxford University Press.
Yamane, Taro. (2012). Mathematics For Economists: An Elementary Survey. Whitefish, Montana: Literary Licensing, LLC.