การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

Main Article Content

ศศิวิมล ช่วยดำรงค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         


การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีมีวัตถุประสงค์      เพื่อศึกษาความเป็นไปได้การจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยตัวแทนจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน      ที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมาย และผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คือ ตัวแทนจากสภาทนายความ ตัวแทนจากสภาวิชาการ ตัวแทนจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ตัวแทนจากอาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ตัวแทนจากอาจารย์พิเศษหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ตัวแทนจากนักวิชาการ     ด้านนิติศาสตร์ในองค์กรของรัฐ และตัวแทนจากประชาชนซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วจึงนำไปทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งผลการวิจัยพบว่าไม่มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีจากหลักการ TELOSH ทั้ง 6 ด้านประกอบด้วย ด้านเทคโนโลยีและระบบ ด้านงบประมาณ ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านการบริหารจัดการ ด้านระยะเวลา และด้านบุคลากร


ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ต้องการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีสามารถทราบถึงองค์ประกอบที่ไม่มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีตามหลักการ TELOSH และจะต้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องการจะตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการศึกษา สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาพผู้แทนราษฎร. (2557). กฎหมายด้านการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์. (2558). โครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี.
พงษ์พิลัย วรรณราช. (2548). สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546. ค้นเมื่อ เมษายน 22, 2561 , จาก http://www.krisdika.go.th
รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์ อรุณีหงษ์ศิริวัฒน์และ พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2557). ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา , 12 (2) ,70-80
รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์. (2557). การพัฒนาต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์, 43 (4), 79-93
สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2556). แผนการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ พ.ศ.2557-2560 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. ผู้แต่ง