นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผาไร่อ้อย : กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
Abstract
ประเด็นมลพิษทางอากาศอันเกิดจากฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อย ของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นเรื่องที่กระทบต่อสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากเป็นอันดับหนึ่งของเขตพื้นที่ภาคกลาง โดยมีพื้นที่ปลูกอ้อย จำนวน 734,280 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6 ของพื้นที่จังหวัด ด้วยพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมากเมื่อเกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยวิธีการเผาใบในช่วงเวลาเดียวกันจึงก่อให้เกิดสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมากลอยอยู่ในอากาศจนสามารถมองเห็นฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้แม้วิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยจะสามารถเก็บเกี่ยวได้สองวิธีคือการเก็บเกี่ยวอ้อยสดและการเก็บเกี่ยวโดยมีการเผาใบก่อน แต่เนื่องจากการตัดอ้อยสดจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการเผาใบอ้อยก่อนตัด เกษตรกรบางรายจึงหลีกเลี่ยงการตัดอ้อยสดและยังคงใช้วิธีการเผาอ้อยก่อนตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิต
จากการศึกษาถึงแนวนโยบายและมาตรการทางการกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่า ในส่วนแนวนโยบายมีการบัญญัติครอบคลุมในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หน่วยงานส่วนกลาง และหน่วยงานระดับจังหวัด ส่วนมาตรการทางกฎหมายที่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ก่อให้เกิดฝุ่นควันพบว่า มีกฎหมายหลายฉบับที่ยังคงใช้บังคับแต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า การกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด และลักษณะของความเสียหายที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองไม่เป็นไปตามบริบทของการกระทำของเกษตรกรที่กฎหมายควรมุ่งเน้นคุ้มครองความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของคนในพื้นที่ ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่มีการบัญญัติถึงการกระทำความผิดและกำหนดบทลงโทษในลักษณะนี้ไว้อย่างชัดเจน สิ่งที่ดำเนินการมีเพียงการปรับใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิมเท่านั้น จากการศึกษาข้อมูลครั้งนี้จึงได้มีข้อเสนอแนะ 3 ประการคือ 1. ควรปรับแก้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หมวด 4 การควบคุมมลพิษ ส่วนที่ 4 มลพิษทางอากาศและเสียง มาตรา 64 –68 ให้ครอบคลุมมลพิษทางอากาศด้านอื่นโดยเฉพาะประเด็นการเผาในที่โล่ง และกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสม 2. กำหนดนโยบายสร้างความร่วมมือกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ เกษตรกรชาวไร่อ้อยและภาคอุตสาหกรรม 3. ศึกษาการบังคับใช้ประกาศจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง การกำหนดพื้นที่และมาตรการควบคุมผลกระทบจากฝุ่นละลองขนาดเล็กว่าเพราะสาเหตุใดแม้จะมีการใช้มาตรการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2562 แต่ค่ามาตรฐานฝุ่นละออง ในจังหวัดกาญจนบุรีจึงยังคงเกินกว่าค่ามาตรฐานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2564ก). (ร่าง) เอกสารประกอบการพิจารณา การปรับปรุงมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป.
ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 21, 2565, จาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/01/pcdnew-2021-01-28_08-42-24_325315.pdf.
กลุ่มปฏิบัติการที่ 2 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นบส.กษ) รุ่นที่ 3. (2563). การศึกษาแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาฝุ่นจากการเผาอ้อย. สถาบันเกษตราธิการสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จังหวัดกาญจนบุรี. (2566). ประกาศจังหวัดกาญจนบุรี เรื่องการกำหนดพื้นที่และมาตรการควบคุมผลกระทบจากฝุ่นละลองขนาดเล็ก PM2.5. ค้นเมื่อ มีนาคม 3,
, จาก https://www.opsmoac.go.th/ kanchanaburi-news-preview-452991792843.
วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ . (2564). การจัดการใบอ้อยเพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็กและส่งเสริมการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืน. วารสารแก่นเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
(1), 76-86.
ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร. (2564). การรับรู้และพฤติกรรมการตอบสนองพฤติกรรมการตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM 2.5) : กรณีศึกษา
กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม
(สหสาขาวิชา) สหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา กิ่งไทร. (2560). ผลกระทบของการเผาอ้อยในเขตพื้นที่เมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนภาคและ
เมือง ภาควิชาการการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกาญจนบุรี. (2566). แผนเผชิญเหตุมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2566.
ค้นเมื่อ มีนาคม 3, 2566, จาก https://backofficeminisite.disaster.go.th/.