ผลของการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และการวาดรูปลายกระหนกในนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี

Main Article Content

Kittisak Makpan

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และการวาดรูปลายกระหนกในนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักศึกษาของวิทยาลัยช่างศิลปะสุพรรณบุรี ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน โดยทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน  ฝึกการวาดภาพลายกระหนกเพียงอย่างเดียว 30 นาที กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ฝึกการวาดภาพลายกระหนกควบคู่กับโปรแกรมการสมาธิแบบเคลื่อนที่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงผลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำโดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


    ผลการศึกษาพบว่า 
    เครื่องมือและโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ (Face Validity) เท่ากับ 1.00 และเมื่อนำไปทดลองใช้ (try out) พบว่า นักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง ในการทดลองในระยะที่ 2 สามารถฝึกตามโปรแกรมได้


  1. ผลของความฉลาดทางอารมณ์และคะแนนความสามารถในการวาดภาพลายกระหนก ของกลุ่มตัวอย่าง มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังการฝึกตามโปรแกรม 8 สัปดาห์

  2. 3. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ค่าเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการวาดภาพลายกระหนก มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยสังเกตได้จากคะแนนที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจสอบและให้คะแนน อีกทั้งผลการทดสอบความแตกต่างก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยสามารถบ่งบอกได้ชัดเจนว่าการฝึกกับเครื่องมือและโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ นั้นสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการวาดภาพลายกระหนกได้เป็นอย่างดี

Article Details

Section
research article

References

ฉัตรตระกูล ปานอุทัย. (2563). ตำราจิตวิทยาการกีฬา. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี.

____________________. (2566). กิจกรรมทางกายแบบออนไลน์ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย ความฉลาดทางอารมณ์ และคุณภาพชีวิตของเยาวชน. รายงานการ

วิจัย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี.

ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์. (2556). EQ ดี ทำอะไรก็สำเร็จ. กรุงเทพฯ: ปราชญ์.

ธัฐบดินทร์ บุญเนื่อง และ อภิชาติ พลประเสริฐ. (2017). การพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกสำหรับนักศึกษาศิลปะระดับปริญญาตรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์

ทางการศึกษา, 12 (2), 108-122.

ประภัสสร แย้มอรุณ. (2555). การร่างภาพศิลปะไทย ชุด พระ นาง ยักษ์ ลิง และสัตว์หิมพานต์. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง .

ประยูร อุลุชาฎะ. (2541). วิวัฒนาการของศิลปะ น. ณ ปากน้ำ. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.

โพธิ์ ใจอ่อนน้อม. (2549). คู่มือลายไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี ทองคำพานิช และ กาญจนา กาญจนประดิษฐ์. (2564). การสร้างชุดอุปกรณ์และโปรแกรมการฝึกที่พัฒนาความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับนักกีฬาเซปัก

ตะกร้อ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 22 (3), 303-319.

พัชรี ทองคำพานิช และฉัตรตระกูล ปานอุทัย. (2565). การสร้างอุปกรณ์และโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ที่ส่งผลต่อความสามารถในการยิงปืน. วารสาร

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 14 (3), 39-56.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์สันต์. (2545). การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับคนไทยอายุ 12-60 ปี. วารสารสมาคมจิตเวชแห่งประเทศไทย, 47 (4),

-279.

สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย. (2542). จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมปอง อัครวงษ์. (2550). จิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง.

Mayer J. D. and Salovey D. J. (1997). What Is Emotional Intelligence?” in Emotional Development and Emotional Intelligence: Educational

Implications. New York: Basic Book.

Polit, D.F., Beck, C.T. and Owen, S.V. (2007). Is the CVI an Acceptable Indicator of Content Validity? Appraisal and Recommendations.

Research in Nursing & Health, 30, 459-467.