การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชารายงานทางการเงิน และการวิเคราะห์งบการเงินของนักศึกษาสาขาการบัญชี ด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาการบัญชีจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน

Main Article Content

นางอรทัยภ์ ทำมา
อรอนงค์ จิระกุล
อารยา เจริญพร
สมาน สืบนุช

Abstract

  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน จากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการสอนโดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐานในรายวิชารายงานทางการเงิน และการวิเคราะห์งบการเงิน 3) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอนในบทเรียนรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงินให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาการบัญชีชั้นปีที่ 2 ที่ลงเรียนในรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ภาคการศึกษาที่ 2/2565 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินคุณภาพของเอกสารประกอบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในระดับความพึงพอใจเฉลี่ยรวมมากที่สุด (equation= 4.60, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณารายข้อแล้ว พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ นักศึกษายังมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนแบบ PBL ในระดับมากที่สุด (equation= 4.60, S.D. = 0.67) โดยเฉพาะในด้านความชัดเจนของสื่อ เนื้อหาที่เข้าใจง่าย และการใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายซึ่งได้ค่าเฉลี่ยในระดับสูงที่สุด การจัดการเรียนการสอน ยังส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงออกความคิดเห็น การคิดวิเคราะห์ และการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน พบว่า มีคุณภาพในระดับดีมาก (equation= 4.48, S.D. = 0.32) โดยบทที่ 8 เรื่องการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการหากำไร ได้รับคะแนนสูงสุด (equation= 4.67, S.D. = 0.28) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการใช้เอกสารประกอบการสอนร่วมกับวิธีการเรียนรู้แบบ PBL เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์แผนการศึกษาแห่งชาติและการสอนในศตวรรษที่ 21

Article Details

Section
research article

References

กาญจนา บุญภักดิ์ และภาไพกาญจน์ อินทร์น้อย. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาการบัญชีจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ในรายวิชาการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์. Journal of Industrial Business Administration, 3 (2), 21-29.

กาญจนา บุญภักดิ์ และ ภาไพกาญจน์ อินทร์น้อย. (2557). เทคนิคการเขียนตำราสำหรับนักเขียนหน้าใหม่. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13 (3), 194-199.

Arslan, O., Inan, F., A., and Cheon, J. (2020). “Design and Development of a Web-Based Instruction for Professional Development in

Higher Education.”Proceedings of Society for Information Technology & Teacher Education International Conference,

Waynesville, NC, USA.

Barrow,H. S. (2000). Problem-based learning applied to Medical Education. Revised edition. Illinois: School of Medicine, Southern Illinois

University.

Black, P., and Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning. Assessment in Education: principles, policy & practice, 5 (1), 7-74.

Bloom, B. S. (1984). The 2 sigma problem: The search for methods of group instruction as effective As one-to-one tutoring. Educational

researcher, 13 (6), 4-16.

Likert, R. (1970). A Technique for the Measurement of Attitude In G.F.Summer (Ed). Attitudes measurement. New York : Rand McNally.

Muangseengarm, O., Tuntiwongwanich, S., and Kiddee, K. (2020). “Development of analytical thinking By problem-base learning with

e-learning on two-dimensional array for vocational certificate students” Journal of Industrial Education, 19 (3), 11-20. (in Thai).

Preededilok, K. (1986). Organizational management theory. Bangkok: ThanaPrinting. [in Thai].