การศึกษาและวิเคราะห์พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • อทิตยา สวัสดิสาระ โรงเรียนกฎหมายเเละการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • วัลลภ ห่างไธสง โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท, กระบวนการยุติธรรมทางเลือก, การจัดการความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและการบังคับใช้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 และแนวทางการส่งเสริมการใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการวิจัยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 3 คนได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของกรมคุ้มครองสิทธิฯ ผู้ได้รับผลกระทบ (ทนายความ) และนักวิชาการทางด้านนิติศาสตร์ ข้อมูลจากการเก็บรวบรวมจะนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทถือเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกหนึ่งซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อบรรเทาภาระและจัดการความขัดแย้งในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะคดีแพ่งและอาญาที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน และส่งเสริมการระงับข้อพิพาทผ่านการเจรจาและความสมัครใจของคู่กรณี ซึ่งช่วยสร้างความสมานฉันท์และลดความขัดแย้งในสังคม อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการใช้กฎหมายดังกล่าวควรเน้นการพัฒนากระบวนการประชาสัมพันธ์ การขยายขอบเขตการไกล่เกลี่ย การเสริมสร้างศักยภาพและจริยธรรมของผู้ไกล่เกลี่ย ตลอดจนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการไกล่เกลี่ยจะช่วยเพิ่มความสะดวกและการเข้าถึงของประชาชนในวงกว้าง ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบังคับใช้ในพื้นที่ที่หลากหลาย และการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการไกล่เกลี่ย เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียม​

 

References

กานต์สินี ศิริ (2563). ปัญหาการบังคับใช้หลักความเสมอภาคในแดนกฎหมายเอกชน: ศึกษากรณีพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ณพดล อินทวิสัย. (2565). การไกล่เกลี่ยที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการบริหารจัดการคดีต่อเนื่องให้เกิดประสิทธิผล กรณีศึกษา ศาลจังหวัดธัญบุรี. เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2567 จาก https://library.coj.go.th/th/media/ 61031/media-61031.html

ประจวบ ทองแสวง. (2565). แนวคิด หลักการ และปัญหาการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี. เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2567 จาก https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=49145&table=files_biblio

ปรางค์รัตน์ แขกเพ็ง. (2566). รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

รวิช สุรไตรวิช ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล และพระสิทธินิติธาดา. (2565). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมาย

ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งก่อนฟ้องคดี. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 10(1), 53-66.

โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2566). การประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติ

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สถาบันพระปกเกล้า. (2566). แนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี. กรุงเทพ: สำนักนวัตกรรม

เพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า.

สุระทิน ชัยทองคำ. (2565). การพัฒนากฎหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา. วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 10(12), 72-89.

สำนักงานศาลยุติธรรม.(2562). หนังสือรายงานสถิติของศาลทั่งราชอาณาจักรประจำปีพ.ศ. 2562. สำนักงานศาลยุติธรรม. เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2567 จาก https://anyflip.com/cxoom/dbfl/

อัจจิมา แก้วขุนทอง. (2567). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562. เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2567 จาก http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6124011844/16130350560f14e0 8298687ee599ad28e2b811d9c0_abstract.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

สวัสดิสาระ อ., & ห่างไธสง ว. (2024). การศึกษาและวิเคราะห์พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. วารสารกฎหมายและการเมืองการปกครอง, 2(2), 15–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPG/article/view/283721