ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต จำนวน 375 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ การสร้างแรงบันดาลใจ อันดับที่ 2 การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา อันดับ 3 การบำเพ็ญสั่งสมบารมี และอันดับ 4 การสร้างวิสัยทัศน์ เมื่อพิจารณาลำดับความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นรายข้อ พบว่า มีระดับความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดเรียงลำดับความสำคัญของภารกิจที่ได้พิจารณาร่วมกันแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นงานหลักด้านต่างๆ อันดับที่ 2 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาระดมความคิดเรียงลำดับประเด็น แยกเป็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษา อันดับที่ 3 คือลักษณะผู้นำแบบบารมีด้านการเป็นแรงบันดาลใจมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของทีมบริหารด้านหัวหน้างาน ด้านเพื่อนร่วมงานและด้านรายได้ และอันดับสุดท้าย คือ ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมายงานที่ท้าทายและมีคุณค่าแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ชยพล เพชรพิมล. (2556). ทฤษฎีบารมี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการปฏิรูปทั้งโรงเรียน, กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระครูเหมเจติยาภิบาล (โสพิทร์ อินฺทโสภิโต/แซ่ภู). (2564). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 6(2). 19.
มยุรี ศรีวงษ์ชัย. (2566). ภาวะผู้นำเชิงอำนาจบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกลุ่มกรุงเทพตะวันออก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8(1). 463.
วัชระ คงแสนคำ. (2565). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก, วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 9(3). 258.
วาสินี สุวรรณคาม. (2022). ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล. แหล่งที่มา http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/Miniconference/article/view/4132 สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2566.
วิศรุต มาเจริญ. (22563). รูปแบบภาวะผู้นําแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 เพื่อเสริมสร้างการบริหารการศึกษาแบบเสมอภาค. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักยุทธศาสตร์การศึกษากรุงเทพมหานคร. (2551). ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพิศ ศรีบัว. (2564). การพัฒนาโมเดลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.
Cronbach, Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. 4th ed. New York: Harper & Row.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.