คุณประโยชน์ของพระไตรปิฎก

Main Article Content

อำนาจ บัวศิริ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมดมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่สืบค้นได้อย่างขัดเจนเป็นจริง ทำให้ชาวพุทธทุกคน รวมทั้งคนในศาสนาอื่นได้ศึกษาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้เกิดในสมัยพุทธกาลก็ตาม และเราก็สามารถเชื่อได้อย่างมั่นใจว่าคำสอนต่างๆ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเป็นบรมครูยิ่งใหญ่สุดของโลก การศึกษาพระไตรปิฎกจึงก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการฝึกกาย ฝึกใจและการสร้างสรรค์ปัญญา รวมทั้งการนำพาตนเองให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างแท้จริง หลักการความรู้ แนวทางการปฏิบัติเป็นความจริงแท้ตามหลักธรรมชาติจึงเหมาะสมกับมนุษย์ทุกคนไม่ใช่เพียงแค่พุทธศาสนิกชนเท่านั้น ที่จะนำไปปฏิบัติได้ แต่คนทุกเชื้อชาติทุกศาสนาก็สามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้เช่นกัน ความรู้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเปิดโอกาสกว้างให้มนุษย์ทุกคนเข้ามาศึกษาได้อย่างเต็มที่ได้อย่างเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันเพื่อสร้างความสุขสันติให้แก่โลกอย่างมั่นคงและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต). (2546). พระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้ ฉบับสองภาษา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2540). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2540). พระวินัยปิฎกย่อ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระอมรมุนี (จับ ฐิตธมฺโม). (2535). นำเที่ยวในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2545). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2566). ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. แหล่งที่มา http://oldweb.mcu.ac.th/mcutrai/menu1/menu1_1.htm สืบค้น 10 ต.ค. 2566.

ลานพุทธศาสนา. (2566). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. แหล่งที่มา http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/abouttripitaka/ สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2566.

วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ. (2563). พระอภิธรรมใครว่ายาก. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.

สมเด็จพระพนรัตน์ ผู้แต่ง, พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ผู้แปล. (2466). พงศาวดารพระพุทธศาสนาและพงศาวดารบ้านเมือง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไท.

สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ). (2539). พระวินัยแปล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2563). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2543). คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

อุทัย บุญเย็น. (2548). พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โพธิ์เนตร