แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 ในสถานศึกษาสหวิทยาเขตวิลาดอุดมไทรอินราชา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

บุญสิตา รอดม่วง
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
พระครูภัทรธรรมคุณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 159 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาสหวิทยาเขตวิลาดอุดมไทรอินราชา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน 2) วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 เป็นการประยุกต์หลักการป้องกันตามมาตรการ คือ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ เพื่อบูรณาการกับหลักมิตรแท้ 4 ประกอบด้วยมิตรมีอุปการะ มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข มิตรแนะนำประโยชน์ และมิตรมีความรักใคร่ และ 3) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 ประกอบด้วย (1) จัดตั้งเครือข่ายทางการศึกษาเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในโรงเรียน (2) มาตรการค้นหา ประเมินสถานการณ์ด้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง (3) มาตรการรักษา นำนักเรียนกลุ่มติดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดตามความสมัครใจ และให้กำลังใจกับผู้ที่เคยใช้สารเสพติด (4) จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปลอดยาเสพติด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คุณโทษของยาเสพติด (5) มีการวางแผนการป้องกันยาเสพติดไว้ในกิจกรรมของโรงเรียน และการเรียนการสอนทุกรายวิชา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำผล สุพร. (2559). ปัญหาและแนวทางการดําเนินงานป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาอําเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยณรงค์ อ่อนภูธร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระครูบุญเขตโสภณ (วินัย รววณิ ฺโณ). (2557). การป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชนตามแนวทางพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดชัยยะ โกมโล (แก้วมะไฟ). (2561). ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามหลักพุทธธรรม. วิทยานิพนธ์ศานศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุ่งทิพย์ กล้าหาญ และบรรชร กล้าหาญ. (2552). กระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรม ในหมู่บ้านป่าไผ่ ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

ศักดา มังคะรัตน์. (2563). แนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศักดา มังคะรัตน์. (2563). แนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศุภกร ชินะเกตุ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถานบำบัดยาเสพติดเอกชน ภูฟ้าเรสท์โฮม. (2566). ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในไทยกับความจริงที่ต้องแก้ไข. แหล่งที่มา https://www.phufaresthome.com/ สืบค้นเมื่อ 17 เม.ย. 2566.

สถานบำบัดยาเสพติดเอกชนภูฟ้าเรสท์โฮม. (2566). ปัญหายาเสพติดในไทย และแนวทางการแก้ไขปี 2566. แหล่งที่มา https://www.phufaresthome.com/blog/drugs-problem-inthailand-2566. สืบค้นเมื่อ 17 เม.ย. 2566.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.

Rosati, M.M. (2005). Lawrence public school drug – free schools project. Dissertation Abstracts International. Massachusetts: Education Development Center.

Thompson, D.D. (1995). Evaluation the effects of project dave in rural southeast Minnessota school. Dissertation Abstracts International.