แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สันติ คำสอน
พระครูภัทรธรรมคุณ
ณัชชา อมราภรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและผู้บริหาร จำนวน 234 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา เป็นการประยุกต์การบริหารสถานศึกษา คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป บูรณาการกับหลักไตรสิกขา 3 คือ ผู้บริหารและบุคลากรควรได้รับการอบรมพัฒนากาย วาจา (ศีล) พร้อมการพัฒนายกระดับของจิตให้สูงขึ้นในการบริหาร (สมาธิ) และพัฒนาสู่ระบบนวัตกรรมยุคดิจิทัลบูรณาการสู่การพัฒนากระบวนการของปัญญา (ปัญญา) เพื่อเป็นแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา เป็นการบริหารมีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานอย่างเป็นระบบการบริหารงานวิชาการและนำนวัตกรรมดิจิทัลมาวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีล การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปให้สอดคล้องกับกับกระบวนการของปัญญาเพื่อพัฒนาสู่การพัฒนาจิตตามหลักไตรสิกขาควบคู่กับนวัตกรรมดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระแสสินธุ์ ปล้องมะณี. (2551). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชนิดา อินต๊ะปัญญา. (2547). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยญา ชนะมาร. (2553). การศึกษาคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.

พระมหารุ่งโรจน์ ธมฺมฏฺฐเมธี (ศิริพันธ์). (2550). การศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาทวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ ธรรมขัดดุก. (2548). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 24(2). 151-166.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมควร ทิพย์จันทร์. (2548). การพัฒนาบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมัย อดทน. (2551). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูวิชาการและครูผู้สอนต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชิต วรรณสุทธ์. (2546). ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในอนาคต สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.