แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

Main Article Content

รัตนาภรณ์ จันภิรมย์
พระสุรชัย สุรชโย
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 313 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เพราะว่าผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับงานบริหารบุคคลของสถานศึกษาในด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การวางแผนงานบุคล การประเมินการปฏิบัติงาน และการพัฒนาบุคคล ตามลำดับของการบริหาร 2) วิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการบูรณาการการบริหารงานบุคคล คือ การวางแผนงานบุคล การจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคคล การประเมินการปฏิบัติงานกับหลักจักร 4 อันเป็นเหมือนวงล้อที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญงอกงาม ดุจล้อรถที่หมุนนำรถไปสู่ที่หมาย 4 ประการ คือ 1) การอยู่ในท้องถิ่นที่เหมาะสม (ปฏิรูปเทสวาส) สถานที่เหมาะสม การอยู่ในท้องถิ่นที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่การที่รับผิดชอบ 2) การคบสัตบุรุษ (สัปปุริสูปัสสยะ) คุณภาพของบุคคล การคบสัตบุรุษผู้มีความรู้ความสามารถดี 3) การตั้งตนไว้ชอบ (อัตตสัมมาปณิธิ) ความประพฤติของบุคคลต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม การปฏิบัติของบุคคลในทางที่ดี 4) ประสบการณ์ของบุคคล (ปุพเพกตปุญญตา) ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อนเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารบุคคล และ 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) การวางแผนงานบุคคล ผู้บริหารควรประชุมวางแผนกำหนดคุณสมบัติของบุคลากร ให้ตรงตามความต้องการของสถานศึกษา คัดเลือกบุคลากรที่มีคุณธรรม มีประสบการณ์ปฏิบัติงานตรง ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษากับความสามารถของบุคคล (2) การจัดเข้าปฏิบัติงานผู้บริหารควรมีการกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจนกับผู้ที่รับคัดเลือกเข้ามามีความรู้ ความสามารถ ความถนัด ตรงตามสายงานในการปฏิบัติหน้าที่ (3) การพัฒนาบุคคล ผู้บริหารควรจัดให้บุคลากรได้เข้าอบรมประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาตนเอง และอบรมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเสริมจุดแข็ง จุดด้อยของสถานศึกษาเพื่อที่จะนำมาพิจารณาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น (4) การประเมินการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินงานบุคลากร ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. (2561). คู่มือและกรณีศึกษาการดำเนินงานโครงการฯ. ปทุมธานี: คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี.

จิตกร สมาคม. (2565). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธรรมพาเพลิน. (2566). หลักจักร 4. แหล่งที่มา https://dhammapaplearn.wordpress.com สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2566.

ธัญญลักษณ์ ต่วนชะเอม. (2565). แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พระธนรัตน์ จนฺทโก (จันทะปาโต). (2558). การบริหารการศึกษาตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดจันทร์ สิริจนฺโท (พงษ์แตง). (2564). กระบวนการการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภารดี อนันต์นาวี. (2552). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการบริหารการศึกษา. ชลบุลี: สำนักพิมพ์มนตรี.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ่ง แก้วแดง. (2554). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สพป.ปทุมธานี เขต 2. (2566). สถิติครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2566. แหล่งที่มา https://ptt2.go.th. สืบค้นเมื่อ 20 มิ.ย.2566.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.