แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูจำนวน 248 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) วิธีการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์ การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ร่วมกำหนดเป้าหมายร่วมวางแผนงานของโรงเรียน ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน (2) ความคิดสร้างสรรค์ การให้รู้จักการยอมรับมุมมองที่แตกต่าง (3) การสื่อสาร การพัฒนาทักษะการพูดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารที่แตกต่างของบุคคล (4) ทักษะความร่วมมือ การสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันมีการกำหนดข้อปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการบูรณาการกับหลักทุติยปาปณิกสูตร ประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์ ผู้บริหารวิเคราะห์แนวโน้มทางการศึกษาและสร้างวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาให้ชัดเจน (2) ความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์เปิดรับฟังความคิดเห็น การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (3) การสื่อสาร ผู้บริหารพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสนับสนุนเทคโนโลยีการสื่อสาร และสื่อสารให้ตรงประเด็น (4) ความร่วมมือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม ยอมรับข้อแตกต่างระหว่างบุคคล สร้างขวัญและกำลังใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชวนะ ทวีอุทิศ.(2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทนง ทศไกร. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามหลักทุติยปาณิกสูตรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นิวุธ มีพันธ์. (2559). ตัวแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ประธาน ยศรุ่งเรือง. (2559). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 36. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และศุขภิญญา ศรีคำไทย. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 3(1). 70-78.
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.
วันทนา เนาว์วัน. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
เสาวนีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
อภิชญาณัฐโศภา อบสิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารจัดการองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Caraline El Cid, (2018). Effective Leadership Promoting Effective Change in Schools. Master of Education. University of Victoria.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment: An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.
Noman, Mohammad. (2017). Contextual leadership : leadership practices of successful school principals in Malaysia. Thesis Doctor of Philosophy. Universiti Utara Malaysia.