ความรับผิดทางอาญาและพระธรรมวินัยของพระภิกษุ : ศึกษากรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของพระพุทธบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 2 กรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และกฎหมายสงฆ์ที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องความผิดฐานฉ้อโกง รวมทั้งกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบัญญัติปาราชิก สิกขาบทที่ 2 และ 4) เสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลในเชิงพรรณนา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 2 กรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง มีบัญญัติไว้อยู่ข้อหนึ่ง กล่าวคือ ทุติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ 2 “ห้ามภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ตั้งแต่ราคา 5 มาสกขึ้นไป” หากภิกษุรูปใดฝ่าฝืนจะต้องอาบัติปาราชิก อันเป็นอาบัติหนักที่สุด มีมูลเหตุเริ่มต้นจากพระภิกษุฉ้อโกงทรัพย์คือไม้ของหลวงเพื่อนำมาสร้างกุฎีของตน โดยใช้วาจาคำพูดหลอกลวงเจ้าพนักงานรักษาไม้ของหลวงด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ปัจจุบันมหาเถรสมาคมมีอำนาจในการตรากฎเถรสมาคม ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานฉ้อโกง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 เหตุแห่งการเพิ่มโทษในความผิดฐานฉ้อโกง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน 3) การเปรียบเทียบความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบัญญัติปาราชิก สิกขาบทที่ 2 มีองค์ประกอบความผิดสอดคล้องกัน ยกเว้น เรื่องการกำหนดมูลค่าความเสียหาย กล่าวคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และ มาตรา 343 ไม่มีการกำหนดมูลค่าความเสียหาย ส่วนในพุทธบัญญัติปาราชิก มีการกำหนดมูลค่าความเสียหายไว้ว่า ราคา 5 มาสก ขึ้นไป เป็นอาบัติปาราชิก และ ราคา 1 มาสก แต่ไม่ถึง 5 มาสก เป็นอาบัติทุกกฎ อีกประการหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน คือ เรื่องการยอมความ กล่าวคือ ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 สามารถยอมความได้ แต่หากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงใน มาตรา 343 อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจะไม่สามารถยอมความได้ ส่วนในพระพุทธบัญญัติทุติยปาราชิก และอนุพุทธบัญญัติทุติยปาราชิก บัญญัติให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก หรืออาบัติทุกกฎ ตามมูลค่าความเสียหาย 4) เสนอแนวทางป้องกัน คือ กำหนดโทษทางอาญาที่จะนำมาใช้แก่ผู้ซึ่งปลอมตัวเป็นพระภิกษุหรือตัวพระภิกษุที่กระทำความผิดฐานฉ้อโกง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กรมการศาสนา. (2553). หนังสือคู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กรมราชทัณฑ์ กองบริหารการคลัง. (2566). การลงโทษประหารชีวิต. แหล่งที่มา http://www.correct.go.th/copbank/page_5.htm สืบค้นเมื่อ 5 พ.ค. 2566.
กฤติน จันทร์สนธิกา. (2557). การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีเงินบริจาค. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ข่าวไทยรัฐ. (2567). จำคุก 20 ปี เณรคำ โกงสร้างพระ. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1351833 สืบค้นเมื่อ 9 ม.ค. 2567.
ข่าวไทยรัฐ. (2567). แฉแสบจริง หลวงปู่เณรโตกับพวก มาอยู่พรรษาเดียว ทำวัดสูญเงินกฐินไป 2 แสน. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/news/local/central/1130582 สืบค้นเมื่อ 9 ม.ค. 2567.
ข่าวไทยรัฐ. (2567). เหยื่อกว่า 90 ราย แจ้งความเพิ่ม หลวงตาชฎาทอง ตุ๋นแก้กรรม เสียหายแล้ว 4 ล้าน. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/news/crime/2325547 สืบค้นเมื่อ 9 ม.ค. 2567.
คณพล จันทร์หอม. (2561). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
เฉลิมพล ช่อโพธิ์ทอง. (2538). ความผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกง: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอังกฤษ เยอรมัน และไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิติพร มีไพฑูรย์ และคณะ. (2564). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความผิดอาญาฐานฉ้อโกง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(4). 293-304.
นิรชา บัญอภัย. (2561). ความผิดฐานฉ้อโกง: ศึกษากรณีการฉ้อโกงการบริหาร. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บุญร่วม เทียมจันทร์ และศรัญญา วิชชาธรรม. (2562). ประมวลกฎหมายอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ THE LAW GROUP.
ภาวิณี นครพัฒน์. (2560). ความผิดฐานฉ้อโกงบริการ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2549). พุทธประวัติ เล่ม 1 (หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี). พิมพ์ครั้งที่ 54. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมพรนุช ตันศรีสุข. (2565). อาบัติลักทรัพย์ในทุติยปาราชิก: การตีความแบบหนึ่ง. ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา. 8(1). 116-117.