การบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 6 จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 6 จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 คน สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 6 จังหวัดปทุมธานี พบว่า ลำดับที่ 1 คือ บริหารงานบุคคล และอันดับที่ 2 มี 3 ด้าน คือ บริหารงานวิชาการ บริหารงานงบประมาณ และบริหารงานทั่วไป 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 เป็นการบูรณาการการบริหารสถานศึกษา 4 ด้านกับหลักพละ 4ประกอบด้วย (1) การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอนด้วยความเสียสละ (กำลังการสงเคราะห์) ความเอาใจใส่ต้องการความสำเร็จของงานโดยไม่ท้อถอย (กำลังความเพียร) (2) การบริหารงานงบประมาณ ผู้บริหารมีความรู้ในเรื่องการจัดทำแผนที่ตอบสนองนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา (กำลังความรู้) มีความเพียรพยายามในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ (กำลังความเพียร) ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความเป็นสุจริต (กำลังความสุจริต) รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยความช่วยเหลือกัน (สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์) (3) การบริหารงานบุคคล ผู้บริหารส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร (กำลังความรู้) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (กำลังความเพียร) ส่งเสริมบุคลากรให้ความช่วยเหลือและสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน (กำลังการสงเคราะห์) (4) การบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารให้ความช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษา (กำลังสงเคราะห์) พัฒนาโรงเรียนตามกฎระเบียบมีหลักฐาน (กำลังความสุจริต) และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอนด้วยความเสียสละ เห็นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความรักความเอาใจใส่ต้องการความสำเร็จของงานโดยไม่ท้อถอย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการศึกษา (2) จัดทำแผนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ตอบสนองนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา เพียรพยายามในการทำงานของตนเองให้ประสบความสำเร็จ ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความเป็นสุจริต ยึดระเบียบ มีความซื่อสัตย์ ประพฤติดีประพฤติชอบด้วยด้วยการกระทำมีความเป็นธรรม (3) ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรเพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ส่งเสริมให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการทำงาน ให้ความช่วยเหลือในการทำงาน ยกย่องชื่นชม และสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน (4) ส่งเสริมให้ความช่วยเหลือในการรับฟังความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดมทรัพยากรในการพัฒนาโรงเรียนต้องเป็นไปตามกฎและระเบียบมีหลักฐาน สรุปองค์ความรู้การวิจัยคือ ETPR Model
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล. กรงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2543. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2560). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ. วารสารมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(2). 29-43.
พระมหาศุพชัย สุภชโย (บุญพร้อม). (2561). ประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 9 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมชาย เตชปญโญ (เตชะ). (2556). การบริหารงานวิชาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรง เรียนมัธยมศึกษา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิพัฒน์พงษ์ พงกะพันธ์. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 21(2). 56
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2553. แหล่งที่มา http://www.obec.go.th สืบค้นเมื่อ 14 มิ.ย. 2566.
สุบรี ม่วงกุง. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Dessler, G. (2000). Human Resource Management. 8th ed. Upper Saddle River. NJ: Prentice Hall.