รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง

Main Article Content

วีรชญา วีระคำ
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อันดับที่ 1 คือ การวัดผลและประเมินผล รองลงมา คือ หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วยหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา การบูรณาการด้วยหลักธรรมาภิบาล ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สรุปองค์ความรู้การวิจัย คือ MG

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือการบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). 8 นโยบาย การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติศักดิ์ ส่องแสง. (2549). การมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เตือนใจ รักษาพงศ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธรรม ส่งศิริ. (2565). ธรรมาภิบาล (Good Governance) ธรรมาภิบาลในภาครัฐ. แหล่งที่มา www.pathumthani.go.th/webKM/KM_Files/left-1-1.ppt สืบค้นเมื่อ 1 ก.ย. 2565.

ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

พรศักดิ์ อุ่นใจ. ( 2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พระบรมราโชวาท. (2564). พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลฯ. แหล่งที่มา https://nawaporn.wordpress.com/พระราชดำรัสฯ-เกี่ยวกับก/ สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2564.

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวี จันทะนาม. (2557). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดกลาง. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (2565). ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (ชลบุรี-ระยอง). แหล่งที่มา http://182.53.16.99/web/Special/data1.html สืบค้นเมื่อ 4 ก.ค. 2565.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อวิรุทธ์ ยาเซ็ง. (2550). การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2538). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.

Van Miller. (1965). The Public Administration of American School. New York: Macmillan Publishing Company.