การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปราโมทย์ เมืองสังข์
สมศักดิ์ บุญปู่
บุญเชิด ชำนิศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ของนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา 3) เพื่อประเมินกระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ของนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย (1) กำหนดเนื้อหา (2) กิจกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ (3) การบูรณาการหลักไตรสิกขา (4) ผลลัพธ์การเรียนรู้ และ 3) ผลการประเมินกระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา พบว่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2546). แนวทางการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฐกร พฤฒิปูรณี. (2564). การพัฒนาสมรรถนะครูในช่วงยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

เนตรชนก วิภาตะศิลปิน. (2559). รูปแบบการพัฒนาเยาวชนตามหลักไตรสิกขาในโครงการสามเณรปลูกปัญญาธรรม. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญเลิศ จีรภัทร์ และคณะ. (2546). แนวทางการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2539). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระมหาอุตม ปญญาโภ (อรรถศาสตร์ศรี). (2547). การศึกษาวิเคราะห์พุทธศิลป์เชิงสุนทรียศาสตร์: กรณีเฉพาะพระพุทธรูปสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. แหล่งที่มา http://www.bopp.go.th/?page_id=1828 สืบค้นเมื่อ 29 ม.ค. 2565.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย และคณะ. (2546). แนวทางการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในระดับประถมศึกษา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาพร วีระปรียากูร. (2554). สิมอีสาน: รูปแบบการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อส่งเสริมคุณค่าด้านวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรเดช คำศรี. (2566). พุทธศิลป์คืออะไร. แหล่งที่มา https://sites.google.com/ site/buddhistartsk/ สืบค้นเมื่อ 29 ม.ค. 2566.

Yamane, Taro. (1967). Statistics An Introductory Analysis. 2 nd Ed. New York: Harper and Row.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment: An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.