รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3

Main Article Content

พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล (เกตุสุวรรณ์)
เกษม แสงนนท์
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 จำนวน 196 รูป/คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 อันดับที่ 1 คือ การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง รองลงมาคือ การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ และการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ตามลำดับ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 องค์ประกอบด้วยหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา การบูรณาการด้วยหลักสัปปุริสธรรม 7 และผลลัพธ์ที่คาดหวัง และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูเกียรติ ไชยทวีวิวัฒน์กุล. (2565). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). แหล่งที่มา http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=435 สืบค้นเมื่อ 29 พ.ค. 2565.

นพมาศ ปลัดกอง. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤพันธ์ สมเจริญ. (2565). นวัตกรรมการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทางสังคม ตามหลักอารยธรรมวิถีสี่ครูบาในจังหวัดลำพูน. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

พรทิพย์ เอี่ยมมาลา. (2556). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พระพิพิธพัชโรดม (อำนวย อินฺทวณฺโณ). (2565). การพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ตามแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ จังหวัดเพชรบุรี. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาไกรวรรณ ปุณขันธ์. (2552). ผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาขุนทอง อคฺควโร (สนนำพา). (2559). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาภายในสำนักเรียนพระปริยัติธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 12. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุพจน์ สุเมโธ (พานทอง). (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธีบริหารการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 2. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก หน้า 11. (16 เม.ย. 2562).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัทนา หาญสุริย์. (2563). การศึกษาบนโลกดิจิทัล. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 8(31). 9-21.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21: สหราชอาณาจักร. รายงานสรุปการสัมมนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิ สดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.